คู่มือแพทย์ประจำบ้าน        

 


               สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว

            

 

 

                             กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก

                                            โ รงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

                                                              มิถุนายน 2544

 

 

 

 

 

สารจาก กตร.รพ.รร.6

 

กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้เริ่มดำเนินการให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย

เจ็บที่มาตรวจที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ ปี พ..2517  และยังแบ่งเบาภาระผู้ป่วยที่ต้องมาที่โรงพยาบาลโดยดำเนินการ เปิดหน่วยโรคที่  1 – 13   กระจายอยู่ทั่วไปตามชุมชนทหาร ทั่วกรุงเทพ  นอกจากนี้  ยังให้บริการด้านเวชกรรมป้องกัน และการส่งเสริม

สุขภาพให้กับ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, ประชาชนทั่วไป และชุมชนทหารดังกล่าว

                                ใน ปี พ..2542 แพทยสภา ได้เห็นความสำคัญของ การให้บริการทางการแพทย์พื้นฐาน แบบเวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งเป็นการบริการด่านแรกที่ครอบคลุม,ต่อเนื่อง,ทั่วถึง และคำนึงถึงสภาพจิตใจและสังคมของผู้รับบริการ  อันได้แก่ ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน       จึงได้ดำเนินการให้ สมาคม / วิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว  จัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวขึ้น   โดยกองโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า  ได้รับคัดเลือก  และรับรองให้เป็นสถาบันแห่งแรกแห่งหนึ่งสำหรับฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทย

กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก  รพ..รร.6  ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบ การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

เวชศาสตร์ครอบครัวของ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า  โดยจัดสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมร่วมกับสมาคม/วิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว  และได้เริ่มดำเนินการเมื่อ  มิย.2542  กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก ได้ดำเนินการประสานงานกับกองต่างๆ ในการจัดทำรายละเอียดของหลักสูตร  กำหนดการหมุนเวียนปฏิบัติงานต่าง ๆ  ตลอดจนจัดกิจกรรมทางวิชาการขึ้นภายใน กตร.  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว  แพทย์ประจำบ้านจะถูกส่งไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในกองต่างๆของโรงพยาบาลและภายนอกโรงพยาบาลตามเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร  โดยปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับ แพทย์ประจำบ้านสาขาที่ได้ไปปฏิบัติงานอยู่

ขณะนั้น    ในขณะเดียวกัน จะต้องกลับมาทำกิจกรรมทางวิชาการที่ กตร.ผู้ป่วยนอก สัปดาห์ละครึ่งวัน (Halfday Study in FM ) นอกจากนี้ยังต้องเตรียมการเก็บข้อมูลครอบครัวของผู้ป่วยเพื่อเขียนรายงานส่งในแต่ละปี   และเตรียมทำงานเอกสารทางวิขาการอื่น ๆ  เพื่อใช้ประกอบในการสอบวุฒิบัตรต่อไป 

เนื่องจากสาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว   ที่ทุกท่านได้สมัครมาฝึกอบรมนี้เป็นสาขาวิชาใหม่สำหรับประเทศไทย

ขอให้แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัวทุกท่าน  ได้ตั้งใจขยันหมั่นเพียร  และพยายามฝึกศึกษา หาความรู้และประสบการณ์ ให้เต็มความสามารถ  หากมีปัญหาสิ่งใดขอให้ปรึกษาอาจารย์ทุกท่านได้ตลอดเวลา  อาจารย์ทุกท่านยินดีและเต็มใจเสมอที่จะให้ความช่วยเหลือแก่แพทย์ประจำบ้านทุกท่าน   เพื่อความก้าวหน้าของตัวท่าน และเพื่อความเจริญเติบโตที่มั่นคงของวิชาแพทย์สาขา

เวชศาสตร์ครอบครัวนี้ ในประเทศไทย

กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก หวังว่าทุกท่านที่จบหลักสูตรการอบรมแล้วจะนำความรู้ไปใช้ในการดูแลรักษาพยาบาล

ผู้ป่วยเจ็บอันจะเกิดผลดีต่อประชาชน  และสังคมทั้งในด้านสุขภาพร่างกาย ,  เศรษฐสถานะ ,  และจิตใจซึ่งเป็นหลักการของแพทย์

เวชศาสตร์ครอบครัว ต่อไป                       

คณาอาจารย์กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

                                                                                                                                         และ

 

..

   ( สิทธิชัย  ธรรมสนอง )

     ผอ.กตร.รพ.รร.6 / ประธานการอบรม ฯ

31     พฤกษภาคม  2544

 

 

สารบัญ

                                                                                                                                      หน้า

รายชื่อแพทย์กองตรวจโรคผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า                                                     1       

หน้าที่และการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวรพ.พระมงกุฎเกล้า                                         2

หลักสูตรการฝึกอบรม                                                                                                                      

        -  บทนำหลักสูตร                                                                                                                                               3

        -  วัตถุประสงค์ทั่วไป                                                                                                                                                         5

        -  วัตถุประสงค์เฉพาะ                                                                                                                                                     5

        -  องค์ประกอบหลักของเนื้อหาในการฝึกอบรม                                                                                                             6

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้                                                                                                                                                        8

ตารางแสดงกิจกรรมการฝึกอบรม                                                                                                                                  9  -  14

การประเมินผล                                                                                                                                                                          15

ภาคผนวก 1

          -  I  รายละเอียดเพิ่มเติมของเนื้อหาฝึกอบรมทั้งหมด                                                                                               16

         -  II  รายละเอียดเนื้อหาหลักสูตรด้านสุขภาพ  และด้านโรค / ความผิดปกติของสุขภาพ                                       19

ภาคผนวก  2

          -  รายละเอียดของกิจกรรมการเรียนรู้ในหลักสูตร                                                                                                     31

ตารางกิจกรรมวิชาการ Half day study in Family Medicine                                                                                              36

รายชื่ออนุกรรมการอาจารย์ผู้ดูแลแพทย์ประจำบ้าน กองต่างๆ                                                                                      37

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

 ผู้อำนวยการกองตรวจโรค รพ.รร.6

                 .. สิทธิชัย  ธรรมสนอง

รองผู้อำนวยการกองตรวจโรค รพ.รร.6

                 .. นพดล  เพ็ญกิตติ

ที่ปรึกษากองตรวจโรค รพ.รร.6

                  .. กุลชัย  ฐานพงษ์

                 .. กิฎาพล วัฒนกูล (รองเลขาฯ และ อนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ

                                                   ของวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย)

อาจารย์ภายใน

                  .. ธัญดร จีระพันธุ

               .. ปรีชา น้ำฟ้า

                  .. พันธุดิส ทองอุปการ 

                  .. ดุสิต  จันทยานนท์

                  .. กวีพจน์  โพธิ์วิเชียร  

                   .. หญิง นิรมล  เจียรนัย 

                   ..วรพงษ์  ศานติธรรม

                   ..หญิง อุษา ไตรภัทร (ศึกษาต่อ)

                   .. ชาติวุฒิ ค้ำชู

                   .. หญิง สุภา เกี่ยวศรีกุล

 

อาจารย์ภายนอก

                 ศจ. นพ. ประสงค์  ตู้จินดา   (นายกสมาคมเวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย)

                  รศ.พญ. สมจิต พฤกษะริตานนท์  (เลขาธิการสมาคมเวชศาสตร์ครอบครัวฯ)

                  พญ. สุพัตรา ศรีวณิชชากร

                  พญ. นิตยา วงศ์เสงี่ยม

                 

 

 

1

หน้าที่และการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว

รพ.พระมงกุฎเกล้า

 

หัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน

1.      ทำหน้าที่บริหารเพื่อให้การทำงานของแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว  เป็นไป

       ด้วยความเรียบร้อย

2.      รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนภายในกอง   ตามรายการซึ่งจัดไว้ตามหลักสูตร

3.      เป็นตัวแทนของแพทย์ประจำบ้าน  ในการประสานงานระหว่างแพทย์ประจำบ้าน และอาจารย์   ทั้งภายในกองตรวจโรคผู้ป่วยนอกและกองอื่น ๆ

แพทย์ประจำบ้านปีที่  3 & 2

1.      รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวแบบองค์รวม  ( Holistic )  ตามแนวทางของเวชศาสตร์ครอบครัว

2.      ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ปรึกษา  และร่วมในการจัดกิจกรรมวิชาการของแพทย์ประจำบ้านปีที่ 1  แพทย์ฝึกหัด และนักเรียนแพทย์ทหาร

3.      ให้ความร่วมมือต่อการเรียนการสอน ทั้งภายในกองตรวจโรคผู้ป่วยนอก และกองอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานอยู่

4.      รับผิดชอบในการเขียนรายงานการดูแลผู้ป่วยเป็นครอบครัว  ( Family Study report )    อย่างน้อยปีละ  2

        ครอบครัว

5.      รับผิดชอบในการจัดทำรายงานศึกษาวิจัยในสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว  เพื่อใช้ประกอบการสอบวุฒิบัตร อย่างน้อย  1  เรื่อง

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1

1.      รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวแบบองค์รวม ( Holistic ) ตามแนวทางของเวชศาสตร์ครอบครัว

2.      ร่วมในการจัดกิจกรรมวิชาการและร่วมประชุมในการเรียนการสอนต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

3.      ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ปรึกษา  ให้แพทย์ฝึกหัด และนักเรียนแพทย์ทหาร

4.      รับผิดชอบในการเขียนรายงานการดูแลผู้ป่วยเป็นครอบครัว ( Family Study report )    อย่างน้อยปีละ 2 

        ครอบครัว

 

 

 

 

 

 

 

2

 

 

หลักสูตรการฝึกอบรม

เพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว

 

บทนำหลักสูตร

               

                                ในสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป   พบว่าประชาชนมีแนวโน้มของสภาพปัญหาสุขภาพที่เป็นโรคเรื้อรัง  ปัญหาความเครียด  ปัญหาด้านจิตใจ  มากขึ้น  ต้องการบริการที่มีความต่อเนื่อง  ต้องการการดูแลที่คำนึงสภาพจิตใจ   และสภาพสังคมที่ต่างกันมากขึ้น

                                แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป  เป็นแพทย์กลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการให้บริการที่เป็นบริการด่านแรก  บริการที่มีความต่อเนื่อง  และการให้บริการที่คำนึงถึงสภาพจิตใจ  และสังคมของผู้รับบริการ  แต่ในอดีตที่ผ่านมาแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปยังไม่เป็นที่ยอมรับในด้านความรู้  ความสามารถและศักดิ์ศรี  แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปมีบทบาทหลักในลักษณะเป็นผู้คัดกรอง  ถูกมองในลักษณะของผู้ที่มีความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ของทุกเรื่อง   มิใช่ในลักษณะผู้ชำนาญการ  ผู้ที่รับผิดชอบ และเกี่ยวข้องในการพัฒนางานนี้จึงได้เสนอให้มีการปรับเปลี่ยนชื่อจาก  " แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป " เป็น " แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว "  โดยปรับบทบาทให้เน้นการบริการที่เป็นบริการด่านแรก  บริการที่ต่อเนื่อง  ผสมผสาน บริการเป็นครอบครัว และชุมชนด้วยแนวคิดแบบองค์รวม

 

                แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว  มีบทบาทหลักคือ  การให้การบริบาลสุขภาพระดับปฐมภูมิ 

( Primary  care )  แก่บุคคล  ครอบครัว และชุมชน  ที่เน้นความรับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลการเจ็บป่วย  การส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  และการฟื้นฟูสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ( Continuity)

ผสมผสาน  ( Integrated ) ด้วยแนวคิดแบบองค์รวม  (Holistic) ที่พิจารณาทั้งสุขภาพกาย  และจิตใจ ควบคู่กับสภาพเศรษฐกิจ  สังคมของบุคคล  ครอบครัว  และชุมชน 

                             การบริบาลสุขภาพระดับปฐมภูมิของชุมชนที่มีประสิทธิภาพสูงนั้น  ขึ้นกับการมี

แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว ที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างดีร่วมในทีมของผู้บริบาลสุขภาพของชุมชนนั้นๆ และแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวมีความจำเป็นที่จะต้องเป็นแกนร่วมของการบริการทางแพทย์ร่วมกับแพทย์สาขาอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อร่วมประสานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บุคคล  ครอบครัว และชุมชนที่รับผิดชอบ

การทำเวชปฏิบัติ  แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว  ต้องประสบปัญหาที่ท้าทายหลายด้าน ปัญหาต่าง ๆ มีพื้นฐานจาก

กระบวนการให้การบริบาลมากกว่ากระบวนการของการเจ็บป่วย  กระบวนการต่าง ๆ ได้แก่  การป้องกันโรค  การให้สุขศึกษา  การค้นหา

การเจ็บป่วยที่ซ่อนเร้น 

 

 

 

 

 

3

 

การวินิจฉัยเริ่มแรก  การประเมินผลการทดสอบสมมติฐาน  การรักษา  การฟื้นฟูสภาพ  ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย  การดูแลที่สัมพันธ์กับจิตใจ  และครอบครัว  แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวจะต้องเรียนรู้บทบาทต่าง ๆ เหล่านี้  และปฏิบัติได้  และจำต้องเสริมสร้างให้เกิดทักษะต่าง ๆ เพิ่มมากกว่าแพทย์ทั่วไป  ดังนั้น  แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวจะต้องรับการฝึกอบรมอย่างกว้างขวางในระบบการบริบาลระดับปฐมภูมิ

กระทรวงสาธารณสุขและสถาบันที่เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมการพัฒนาระบบบริการและความก้าวหน้าของบุคลากรในงาน

เวชปฏิบัติครอบครัวให้สอดคล้องกัน   และจะต้องปรับนโยบายการฝึกอบรมแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวให้มีจำนวนมากขึ้น  นโยบายนี้จะต้องเริ่มตั้งแต่โรงเรียนแพทย์โดยการเน้นการเรียนการสอนให้เข้าใจการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ  กระตุ้นให้แพทย์ทั่วไป (generalist) และบัณฑิตแพทย์ใหม่มีโอกาสฝึกอบรมหลังปริญญา  การทำการวิจัยตลอดจนสนับสนุนด้านต่าง ๆ เพื่อให้ได้ปฏิบัติวิชาชีพสาขานี้ต่อไป  โรงเรียนแพทย์จะต้องจัดให้มีการสอนการบริบาลเบื้องต้น  เป็นส่วนผสมผสานในหลักสูตรแพทยศาสตร์  และสนับสนุนโครงการผลิตแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติครอบครัวระดับหลังปริญญาอย่างจริงจัง

สถานพยาบาลในระบบบริการสาธารณสุขไทยที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวมีความ

แตกต่างกันระหว่างพื้นที่  ตามเงื่อนไขของระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  อันเป็นผลให้น้ำหนักของบทบาทแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวมีความต่างกัน  แต่บทบาทหลักพื้นฐานเหมือนกัน  กล่าวคือ  ในพื้นที่เขตเมือง  แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวสามารถให้บริการใน ศูนย์แพทย์ชุมชน   หรือศูนย์บริการสาธารณสุข  หรือคลินิกเอกชน  หรือหน่วยเวชปฏิบัติครอบครัวในโรงพยาบาลใหญ่  โดยที่แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว  ทำหน้าที่ให้บริการระดับปฐมภูมิโดยตรง  สำหรับพื้นที่เขตชนบท  ซึ่งยังมีปัญหาการขาดแคลนแพทย์  แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวสามารถปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน  ซึ่งมีบทบาทหนึ่งในการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิโดยตรง  และมีบทบาทในการให้บริการในระดับทุติยภูมิส่วนหนึ่งที่เป็นบริการผู้ป่วยในอย่างเหมาะสม  รวมทั้งการมีบทบาทเป็นผู้นิเทศ  สนับสนุนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับอื่นให้สามารถให้บริการระดับปฐมภูมิที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ   ฉะนั้นการฝึกอบรมแพทย์ให้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว  จึงต้องเตรียมแพทย์ให้มีความพร้อมที่สอดคล้องกับบทบาทข้างต้น  กล่าวคือเตรียมแพทย์ให้มีความสามารถหลักที่เหมือนกัน  แต่สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มเติม  ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานเวชปฏิบัติครอบครัวในพื้นที่ที่ต่างกันได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4

วัตถุประสงค์ทั่วไป

แพทย์ที่จบจากการฝึกอบรมตามหลักสูตร  ต้องมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพเวชปฏิบัติครอบครัว  และสามารถให้บริการทาง

การแพทย์และสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ  ที่เน้นความรับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาล  การเจ็บป่วย  การส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพอย่างเบ็ดเสร็จ  ต่อเนื่อง  ผสมผสาน  โดยมีแนวคิดแบบองค์รวมที่พิจารณาปัญหาสุขภาพทั้งกาย  และจิตใจ  และพิจารณาควบคู่ไปกับสภาพเศรษฐกิจ  สังคมของบุคคล  ครอบครัว  และชุมชน  มีเอกลักษณ์ในการดูแลผู้ป่วย  สามารถแก้ปัญหาและให้คำปรึกษาได้ดี  เป็นแพทย์ประจำบุคคลและครอบครัวในชุมชน  ที่ประสานการให้บริการด้านสุขภาพทั้งหมด

วัตถุประสงค์เฉพาะ

แพทย์ที่จบการฝึกอบรม เพื่อเป็นแพทย์ผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบอาชีพสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวแล้ว

ต้องมีเจตคติและความรู้ความสามารถ  ดังนี้

1.       มีทัศนคติ  พฤติกรรม  และจริยธรรม  ที่เหมาะสมในการประกอบวิชาชีพ  เวชกรรม  และมีความภูมิในในวิชาชีพ

2.     มีความรู้พื้นฐานทางการแพทย์  ระบาดวิทยา  และสาธารณสุข  รวมทั้งสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างพอเพียง  ในการให้บริบาลสุขภาพแกประชาชนทุกกลุ่มอายุ  ทั้งในด้านการรักษาพยาบาล  การส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  และการฟื้นฟูสภาพ

3.       สามารถทำเวชปฏิบัติได้ตามหลักการ  และบทบาทของเวชปฏิบัติทั่วไป / เวชปฏิบัติครอบครัว  และเวชศาสตร์ปฐมภูมิ

4.       สามารถให้การบริบาลสุขภาพโดยตระหนักถึงประเด็นต่าง ๆ ได้แก่

-       เศรษฐกิจ  สังคม  ความเชื่อ  วัฒนธรรม  และสิ่งแวดล้อม          

-       กลุ่มอายุต่าง ๆ และความร้องการที่แตกต่างกัน

-       การให้บริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและคุ้มทุน

5.       เข้าใจ  และมีทักษะในกระบวนการให้คำปรึกษา (Consultation  Process)  ซึ่งรวมถึงการวินิจฉัยและการตัดสินใจทางคลินิก  ได้แก่

5.1   ทราบผลกระทบของปัญหาสุขภาพต่อ  บุคคล  ครอบครัว  และชุมชน  รวมทั้งเข้าใจถึงหลักการ  แนวคิดด้านสุขภาพ  การเจ็บป่วย  โรค  คุณภาพชีวิต  และการบริบาลสุขภาพ

5.2     มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของครอบครัวในการให้บริบาลสุขภาพ

5.3     สามารถใช้ทักษะการติดต่อสื่อสาร  และกระบวนการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย  และครอบครัวได้อย่างสม่ำเสมอ

5.4     มีทักษะในการเลือกใช้การตรวจร่างกายและกระบวนการวินิจฉัยอื่นได้อย่างเหมาะสม

5.5     สามารถบริหารจัดการแก้ปัญหาด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ  และสอดคล้องกับลักษณะบุคคลและครอบครัว

5.6     สามารถให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่บุคคล  ครอบครัว  และชุมชน

5.7     สามารถกระตุ้นและสนับสนุนให้บุคคลและครอบครัว  รับผิดชอบต่อวิถีชีวิตและพฤติกรรมของตนเอง

6.       เห็นความสำคัญและสามารถบันทึกรายงานข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย  และครอบครัว  ตลอดจนให้การวินิจฉัยโรคตามระบบรหัสสากล

7.     มีความพร้อมและสามารถให้บริหารการจัดการให้มีบริบาลสุขภาพที่ดี  มีลักษณะเป็นการบริบาลเบ็ดเสร็จ  ต่อเนื่อง  (นอกเหนือจากการเจ็บป่วยแต่ละครั้งจะต้องรวมถึงการรักษาต่อเนื่อง  ระยะยาว  การฟื้นฟูสุขภาพ  การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ)  สามารถผสมผสานหรือประสานงาน  เชื่อต่อการให้บริการกับบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ หรือลุคลากรแขนงอื่นในการให้บริการสุขภาพแก่บุคคลและครอบครัวได้อย่างดี  มีความเอาใจใส่ต่อสวัสดิการของผู้ป่วยนอกเหนือจากการวินิจฉัยและรักษาโรค

8.     มีความเข้าใจในระบบสาธารณสุข  และการสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชน  และสามารถนิเทศ  สนับสนุนการบริบาลสุขภาพระดับต้นที่ให้บริการโดยบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม

9.       สามารถดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้

10.   สามารถประเมินตนเองและศึกษาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง  มีวิจารณญาณในการกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับ  และสามรารถประเมินและพัฒนาคุณภาพการบริการได้อย่างเหมาะสม

5

 

องค์ประกอบหลักของเนื้อหาในการฝึกอบรม  ( ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 1 )

เนื้อหาความรู้ที่สำคัญ

1.       ความเข้าใจต่อสุขภาพ  และโรค/ความผิดปกติของสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ

2.       ความเป็นแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว  และการเชื่อมโยงกับระบบบริการสาธารณสุข

3.       สภาพของผู้ป่วย  ประชาชน  ในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านสังคม  เศรษฐกิจ  วัฒนธรรม  และจิตวิทยา

4.       การเชื่อมต่อขององค์ประกอบต่าง ๆ ข้างต้น

เจตคติที่สำคัญ

1.       ความเข้าใจและความต้องการช่วยเหลือผู้มีปัญหาสุขภาพทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ

2.       ความเข้าใจและความต้องการที่จะร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนที่รับผิดชอบเป็นครอบครัวและชุมชน

3.       ตระหนักถึงการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การฟื้นฟูสภาพ  และการดูแลสุขภาพได้เองระดับหนึ่งของประชาชน 

        ควบคู่กับการรักษาพยาบาล

4.       เคารพความคิดเห็น  และการตัดสินใจของผู้อื่น

5.       อยากเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ทักษะที่จำเป็น

1.       ทักษะการวินิจฉัย  และการดูแลสุขภาพ  ในระยะที่อาการทางคลินิกยังไม่ชัดเจน

2.       ทักษะการวินิจฉัย  และการดูแลสุขภาพของประชากรทุกกลุ่มอายุ

3.       ทักษะการวินิจฉัย  และการดูแลปัญหาสุขภาพประเภทต่าง ๆ ได้แก่ 

-          ปัญหาสุขภาพที่เชื่อมโยงกับสภาวะจิตใจของบุคคลและครอบครัว

-          ปัญหาสุขภาพที่สัมพันธ์กับสภาพสิ่งแวดล้อมของพื้นที่

-          ปัญหาสุขภาพที่เป็นภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ

4.       ทักษะการสื่อสารกับผู้ใช้บริการ  ผู้ร่วมงาน  และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

5.       ทักษะการให้คำปรึกษา ( Consoltation and counselling )

6.     ทักษะการเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง  ทักษะการประยุกต์เทคโนโลยี  และความรู้ใหม่ทางการแพทย์

        ในการนำไปใช้ในการให้บริการ  มีทักษะในการกลั่นกรอง  ไตร่ตรองข้อมูลใหม่ที่ได้รับ

6.       ทักษะในการทำวิจัยเบื้องต้น  และการประเมินผลบริการ

7.       ทักษะในการบริหารจัดการระบบบริการสาธารณสุข

 

 

 

 

 

 

 

 

6

 

ภาพที่1 แสดงมิติของความรู้  ความสามารถ  และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานเวชปฏิบัติครอบครัว

THE  THREE  DIMENSIONS  OF  GENERAL  FAMILY  PRACTICE


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


7


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                กิจกรรมการเรียนรู้ในหลักสูตร  ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม  คือ 

1.       การประชุมเชิงปฏิบัติการ  เพื่อสร้างความเข้าใจต่อแนวคิด  และเนื้อหาที่จำเป็น

2.       การฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานพยาบาลประเภทต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย

         การฝึกปฏิบัติงานเพื่อดู role models  ในช่วงแรก 

         การฝึกปฏิบัติงานในสถานที่พยาบาลคลินิกเฉพาะทางสาขาต่าง ๆ เช่น อายุรกรรม ศัลยกรรม

                    สูตินรีเวชกรรม กุมารเวชกรรม    ฯลฯ

          การฝึกปฏิบัติงานในสถานพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว เช่น  ศูนย์การแพทย์อยุธยา โรงพยาบาล ชลบุรี

                   และ  สถาบันสมทบ ( เช่น โรงพยาบาล   วังจันทร์)   เป็นต้น

3.     การศึกษาครึ่งวันต่อสัปดาห์ ( half day study )  เพื่อการผสมผสาน  และเชื่อมโยงความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งอาจใช้วิธีการสอนทั้งที่เป็นการบรรยาย  การอภิปรายปัญหา  case conference  เพื่อเข้าใจกลไก  สภาวะปัญหา  และการแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ 

(จัดขึ้น ทุก วันพุธ ตั้งแต่ 10.00. – 13.30. ที่ สำนักงานแพทย์กองตรวจโรค ฯ  โดยอยู่ในความดูแลของอาจารย์ภายใน กตร. และ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆที่ได้รับเชิญจากกอง อื่นๆ

4.     การศึกษาวิจัย  และการทำรายงานวิชาการ  เพื่อเรียนรู้กระบวนการคิด  การหาความรู้  และการกลั่นกรองความรู้อย่างเป็นระบบ โดยจัดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้ได้ผลงานทางวิชาการตามมาตรฐาน ที่กำหนดไว้ ในการ

สอบวุฒิบัตร ของวิทยาลัยฯ และ แพทยสภา

5.     การศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง

 

                                                                                            (ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก 2)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8


ตารางแสดงกิจกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชปฏิบัติครอบครัว ( 3 ปี )

ปีที่ 1

whs I     2 wks

 

 

 

 

whsII

2 wks

 

 

 

 

ดู role models 3 wks

 

 

 

อายุรศาสตร์ 3 เดือน

สูติ-นรีเวช 2 เดือน

whs

III

2 wks

 

 

 

 

ศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ 3 เดือน

กุมาร 2 เดือน

Evaluation & Feed back

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มีการจัด half day study in FM ครึ่งวันต่อสัปดาห์  ตลอดช่วง rotation ซึ่งดูแลโดยหน่วย FM ร่วมกับแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

มีการจัด half day study in FM ครึ่งวันต่อสัปดาห์  ตลอดช่วง rotation ซึ่งดูแลโดยหน่วย FM ร่วมกับแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ปีที่ 2

FP 5 เดือน 2 สัปดาห์

 

 

 

whs IV

2 wks

 

 

 

Clinical Rotation 6เดือน

( จักษุวิทยา  และหู คอ จมูก 6 สัปดาห์ ตจวิทยา 1 เดือน  เวชศาสตร์ฟื้นฟู 1 เดือน

จิตวิทยาและจิตเวช 1 เดือน วิสัญญี 3 สัปดาห์  รังสีวิทยา 3 สัปดาห์ )

มีการจัด half day study in FM ครึ่งวันต่อสัปดาห์  ตลอดช่วง rotation

มีการจัด half day study in FM ครึ่งวันต่อสัปดาห์  ตลอดช่วง rotation

ปีที่3

FP 5 เดือน 2 สัปดาห์

 

 

 

whs V

2 wks

 

 

 

 

Elective 6 เดือน ( รวมการดูงานต่างประเทศ )

 

 

มีการจัด half day study in FM ครึ่งวันต่อสัปดาห์  ตลอดช่วง rotation

มีการจัด half day study in FM ครึ่งวันต่อสัปดาห์  ตลอดช่วง rotation

หมายเหตุ :  ดูคำอธิบายเพิ่มเติมในหน้า 8 และรายละเอียดของกิจกรรมการเรียนรู้ในหลักสูตร  ภาคผนวก 2

9

คำอธิบายเพิ่มเติม

1.     wshI  :  Introduction to Family Medicine  หมายถึง  การประชุมเชิงปฏิบัติการ  ครั้งที่ 1  ที่เน้นเรื่องแนวความคิดและความเข้าใจต่องานเวชปฏิบัติครอบครัว  และแนวทางฝึกอบรม

2.       wshII  หมายถึง  การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2  ที่เน้นให้เข้าใจแนวทางการให้คำปรึกษา  และการสื่อสารที่ดีในการให้บริการสุขภาพ

3.     การดูแล role models  เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีความเข้าใจที่แจ่มชัดถึงการจัดบริการเวชปฏิบัติครอบครัวที่เป็นรูปธรรม  และได้แนวทางในการศึกษาเรียนรูเพิ่มพูนความสามารถของตนเองได้อย่างเหมาะสม

4.     wsh III , wsh IV และ wsh V  เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ  และการเพิ่มพูนความรู้รวมอย่างต่อเนื่องในด้านงานเวชปฏิบัติครอบครัว  และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ดูรายละเอียดในเอกสารประกอบ

5.     Half day study in FM  หมายถึง  ในแต่ละสัปดาห์จะต้องมีการจัดการศึกษา  โดยกำหนดเวลาอย่างน้อยครึ่งวันต่อสัปดาห์  เพื่ออภิปรายกรณีศึกษา  เพื่อเชื่อมโยงระหว่างความรู้เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ กับงานเวชปฏิบัติครอบครัว  หรืออาจเป็นการบรรยายให้ความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้บริการเวชปฏิบัติครอบครัวได้เหมาะสมมากขึ้น  โดยมีเนื้อหาในด้าน โรค / ความผิดปกติของสุขภาพ  ด้านแพทย์และระบบบริการ  และด้านประชาชน  ครอบครัว  สังคม  ( ตามรายละเอียดเพิ่มเติมของเนื้อหาการฝึก  อบรม ) โปรแกรมนี้ควรจัดโดยหน่วยเวชศาสตร์ครอบครัว  และร่วมคิดกับผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนในสาขาต่าง ๆ

6.       Clinical Rotation 6 เดือน  ประกอบด้วยการหมุนเวียนศึกษา  ฝึกปฏิบัติงานในสาขาต่าง ๆ ดังนี้

-          จักษุวิทยา และหู คอ จมูก 6 สัปดาห์

-          ตจวิทยา 1 เดือน

-          เวชศาสตร์ฟื้นฟู 1 เดือน

-          จิตเวช และจิตวิทยา 1 เดือน

-          วิสัญญี 3 สัปดาห์

-          รังสีวิทยา 3 สัปดาห์

หมายเหตุ : ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในภาคผนวก

 

 

10


 

           

             ตารางเเสดงกิจกรรม การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชปฏิบัติครอบครัว ร..พระมงกุฏเกล้า(รุ่นที่ 3 ,กลุ่ม 1)  ปี 2544-2547  ( .อมรรัตน์ , .แสงศุลี )                                                                                            

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1

 

1มิย.-

  30มิย.44

 

1.. – 30.. 2544

 

1..- 30..2544

 

1..44 – 25..2545

28.-8..45

 

 

Feb

1มีค.-

 31มีค.45

 

1 เมย. –31.. 2545

Wsh1&2

Role mod.

 

             Medicine

               (3m.)

 

        Ob-gyn

           (2m.)

          Surgery

                (2 m.+)

Wsh

  3

Fam

Pract

(กตร.)

 

Ortho

(1m.)

Ped.

(2m.)

 

4wk.

Half Day Study In Family Medicine( ทุกวันพุธ 1000-1330 .ที่ กตร.)

2wk

Half Day Study In F.M.(พุธ1000-1330.)

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Family Practice (5.5 m.)

 

EYE

(3wk.)

ENT

(3wk.)

Anesth(3wk.)

 

X-ray

(3wk.)

Psych

(1m.)

Wsh

4

Skin

 

(1m.)

Pmr.

 

(1m.)

Rotate

(รพ.ชลบุรี)

Family practice

( กตร. รพ.พระมงกุฏเกล้า)(4.5m.)

 

(1m.)

Half Day Study In Family Medicine( ทุกวันพุธ 1000-1330 .ที่ กตร.)

2wk.

Halfday study in F.M.

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 3

 

 

 

Family Practice(5.5m.)

Wsh

5

Elective

( 6 m.)

Rotate

(รพ.ข่อนแก่น)

Family practice

( กตร. รพ.พระมงกุฏเกล้า)(4.5m.)

 

(1m.)

Half Day Study In F.M. ( พุธ1000-1330.)

2wk.

Half Day Study In Family Medicine( ทุกวันพุธ 1000-1330 .ที่ กตร.)

                 Wsh = Workshop in Family practice (จัดรวมกับสถาบันอื่นทั่วประเทศ)      (กลุ่ม 1 =  พญ.อมรรัตน์ เทพากรณ์ , พญ.แสงศุลี ตุวินันทน์ )

 

11

                

            

            ตารางเเสดงกิจกรรม การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชปฏิบัติครอบครัว ร..พระมงกุฏเกล้า(รุ่นที่ 3 ,กลุ่ม 2 )  ปี 2544-2547 (.ชัยอนันต์ , .ไกรสร )                                                                                   

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1

 

1มิย.-

  30มิย.44

 

1.. – 31.. 2544

1..-

 30..44

 

 1..- 30..2544

 

1..44 – 25..2545

28.-8..45

 

 

1 มีค. –31.. 2545

Wsh1&2

Role mod.

 

Surgery

               (2m.)

 

Ortho

(1m.)

        Ped.

           (2m.)

Ob-gyn

                (2 m.)

Wsh

  3

Fam

Pract

(กตร.)

 

Medicine

(3m.)

 

 

4wk.

Half Day Study In Family Medicine( ทุกวันพุธ 1000-1330 .ที่ กตร.)

2wk

Half Day Study In F.M.(พุธ1000-1330.

 

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Family Practice (5.5 m.)

 

EYE

(3wk.)

ENT

(3wk.)

Anesth(3wk.)

 

X-ray

(3wk.)

Psych

(1m.)

Wsh

4

Skin

 

(1m.)

Pmr.

 

(1m.)

Rotate

(รพ.ชลบุรี)

Family practice

( กตร. รพ.พระมงกุฏเกล้า)(4.5m.)

 

(1m.)

Half Day Study In Family Medicine( ทุกวันพุธ 1000-1330 .ที่ กตร.)

2wk.

Halfday study in F.M.

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 3

 

 

 

Family Practice(5.5m.)

Wsh

5

Elective

( 6 m.)

Rotate

(รพ.ข่อนแก่น)

Family practice

( กตร. รพ.พระมงกุฏเกล้า)(4.5m.)

 

(1m.)

Half Day Study In F.M. ( พุธ1000-1330.)

2wk.

Half Day Study In Family Medicine( ทุกวันพุธ 1000-1330 .ที่ กตร.)

              Wsh = Workshop in Family practice (จัดรวมกับสถาบันอื่นทั่วประเทศ) (กลุ่ม 2 =  นพ.ชัยอนันต์ สงวนพงษ์ , นพ.ไกรสร โตทับเที่ยง )

12

 

         

          

             

             ตารางเเสดงกิจกรรม การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชปฏิบัติครอบครัว ร..พระมงกุฏเกล้า(รุ่นที่ 3 ,กลุ่ม 3)  ปี2544-2547 (.สายรัตน์ , .ธัญญารัตน์ )                                                                                          

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1

 

1มิย.-

       30มิย.

 

1.. – 31.. 2544

 

1..- 31..2544

 

1..44 –25..2545

28.-8..45

 

 

Feb

 

1มีค.-30 เมย.45

1..-

31..2545

Wsh1&2

Role mod.

 

 Ped.

               (2m.)

 

Surgery

(2 m.)

 Medicine

(3m.)

Wsh

  3

Fam

Pract

(กตร.)

 

Ob-gyn

(2m.)

Ortho

(1m.)

 

4wk.

Half Day Study In Family Medicine( ทุกวันพุธ 1000-1330 .ที่ กตร.)

2wk

Half Day Study In F.M.(พุธ1000-1330.)

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Family Practice (5.5 m.)

 

EYE

(3wk.)

ENT

(3wk.)

Anesth(3wk.)

 

X-ray

(3wk.)

Psych

(1m.)

Wsh

4

Skin

 

(1m.)

Pmr.

 

(1m.)

Rotate

(รพ.ชลบุรี)

Family practice

( กตร. รพ.พระมงกุฏเกล้า)(4.5m.)

 

(1m.)

Half Day Study In Family Medicine( ทุกวันพุธ 1000-1330 .ที่ กตร.)

2wk.

Halfday study in F.M.

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 3

 

 

 

Family Practice(5.5m.)

Wsh

5

Elective

( 6 m.)

Rotate

(รพ.ข่อนแก่น)

Family practice

( กตร. รพ.พระมงกุฏเกล้า)(4.5m.)

 

(1m.)

Half Day Study In F.M. ( พุธ1000-1330.)

2wk.

Half Day Study In Family Medicine( ทุกวันพุธ 1000-1330 .ที่ กตร.)

              Wsh = Workshop in Family practice (จัดรวมกับสถาบันอื่นทั่วประเทศ) (กลุ่ม 3 =  พญ.สายรัตน์ นกน้อย , พญ.ธัญญารัตน์ อโนทัยสินทวี )

13

 

          ตารางเเสดงกิจกรรม การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชปฏิบัติครอบครัว ร..พระมงกุฏเกล้า ชั้นปีที่1 (รุ่นที่ 3 )  ปี2544-2547(กตร.รพ.รร.6)

 

กลุ่ม 1

.อมรรัตน์

.แสงศุลี

 

 

1-30มิย.44

 

1.. – 30 ... 2544

 

1..- 30..2544

 

1..43 –25..2545

28.-8..45

 

1มีค.-

31มีค.45

 

1 เมย..- 31..45

Wsh1&2

Role mod.

 Medicine

(3m.)

Ob-gyn

(2m.)

Surgery

(2 m.)

Wsh

  3

Fam

Pract

(กตร.)

 

Ortho

(1m.)

Ped.

(2m.)

 

4wk.

Half Day Study In Family Medicine( ทุกวันพุธ 1000-1330 .ที่ กตร.)

2wk

Half Day Study In F.M.(พุธ1000-1330.)

 

กลุ่ม 2

.ชัยอนันต์

.ไกรสร

 

1-30มิย.44

 

1.. – 31.. 2544

 

1-30..44

 

 1..- 30..2544

 

1..43 – 25..2545

28.-8..45

 

 

Feb

 

1 มีค. –31.. 2545

Wsh1&2

Role mod.

Surgery

               (2m.)

Ortho

(1m.)

        Ped.

           (2m.)

Ob-gyn

                (2 m.)

Wsh

  3

Fam

Pract

(กตร.)

 

Medicine

(3m.)

 

4wk.

Half Day Study In Family Medicine( ทุกวันพุธ 1000-1330 .ที่ กตร.)

2wk

Half Day Study In F.M.(พุธ1000-1330.

 

กลุ่ม 3

.สายรัตน์

.ธัญญารัตน์

 

1-30มิย.44

 

1.. – 31.. 2544

 

1..- 31..2544

 

1..44 –25..2545

28.-8..45

 

 

Feb

 

1มีค.-30 เมย.45

 

1- 31..45

Wsh1&2

Role mod.

 Ped.

               (2m.)

 Surgery

(2 m.)

Medicine

(3m.)

Wsh

  3

Fam

Pract

(กตร.)

 

Ob-gyn

(2m.)

Ortho

(1m.)

 

4wk.

Half Day Study In Family Medicine( ทุกวันพุธ 1000-1330 .ที่ กตร.)

2wk

Half Day Study In F.M.(พุธ1000-1330.)

      แพทย์ประจำบ้านสาขาเวชปฏิบัติครอบครัว ร..พระมงกุฏเกล้า รุ่นที่ 3   ปี2544-2547         กลุ่ม 1 =   พญ.อมรรัตน์ เทพากรณ์    ,   พญ.แสงศุลี ตุวินันทน์ 

                                                                                                                                                         กลุ่ม 2 =  นพ.ชัยอนันต์ สงวนพงษ์    ,   นพ.ไกรสร โตทับเที่ยง

                                                                                                                                                         กลุ่ม 3 =   พญ.สายรัตน์ นกน้อย        ,   พญ.ธัญญารัตน์ อโนทัยสินทวี


การประเมินผล

1.       การประเมินผลในแต่ละช่วงของการปฏิบัติงาน

มีแบบฟอร์มประเมินผลจากภาควิชาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่แพทย์ประจำบ้านเวียนไป

โดยจะยึดถือตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมของกิจกรรมนั้น ๆ รวมทั้งสิ่งที่ต้องทำได้  และน่าจะทำได้ที่ได้แนบไปให้  โดยให้หัวหน้าภาควิชาหรือผู้ที่รับผิดชอบเช่นหัวหน้างาน / หัวหน้าฝ่ายเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงาน  โดยมีตารางแยกเป็น Knowledge, Attitude, and Practice

2.       การประเมินผลประจำปี

เป็นการประเมินผลที่เป็น formative evaluation และ summative evaluation  โดยการ

สอบข้อเขียนแบบ MCQ หรือ MEQ  หรือ OSCE  และ /  หรือการสัมภาษณ์  เพื่อประเมินความรู้  ทัศนคติ  และทักษะที่ควรจะมีในแต่ละปีตามวัตถุประสงค์  ซึ่งอาจเสริมด้วยการสอบสัมภาษณ์  หรือสอบปฏิบัติ

รายงานการดูแลผู้ป่วยเป็นครอบครัว ( Family study report )  ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล

รับผิดชอบ  ปีละ 2 ครอบครัว  และรายงานการทำ Journal club

3.    การประเมินผลเมื่อจบการศึกษา

-       รายงานการศึกษาวิจัยในสาขาเวชปฏิบัติครอบครัว  ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานประกอบการสอบวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชปฏิบัติครอบครัว

-          การสอบข้อเขียน  และสัมภาษณ์  โดยคณะกรรมการสอบที่ตั้งโดยแพทยสภา

-          รายงานการดูแลผู้ป่วยเป็นครอบครัว

 

 

 

 

หมายเหตุ  1.ผลของการประเมินทั้งปี จะนำมาพิจารณาโดยคณะกรรมการวิชาการของกองเพื่อเสนอต่อหัวหน้ากอง

และที่ประชุม ในการพิจารณาว่าแพทย์ประจำบ้านผู้นั้นสมควรได้รับการเลื่อนชั้นของการฝึกอบรมหรือไม่

3.       คณะกรรมการวิชาการของกองฯ จะจัดให้มีการสอบประจำปี สำหรับแพทย์ประจำบ้านระหว่างการฝึกอย่างน้อย

ปีละ 1 ครั้ง  ซึ่งจะมีทั้งการสอบข้อเขียนและปากเปล่า ผลของการสอบนี้จะนำมาพิจารณาร่วมกับการประเมินผล

ทั่วไปด้วย

                 3.แพทย์ประจำบ้านผู้ที่ขาดความรับผิดชอบตามหน้าที่ที่ควรปฏิบัติจะได้รับการตักเตือนตามขั้นตอนตั้งแต่

· ตักเตือนด้วยวาจา , ด้วยลายลักษณ์อักษร , ภาคทัณฑ์ , ฝึกอบรมเพิ่มเติมต่อในชั้นปีเดิม(ซ้ำชั้น) , ออกจากการฝึกอบรม

หรือ ส่งคืนต้นสังกัด        ถ้าการตักเตือนไม่ได้ผล   ตามลำดับ

                 

 

 

 

 

 

15

 

ภาคผนวก 1

รายละเอียดเพิ่มเติมของเนื้อหาฝึกอบรมทั้งหมด

 

1.      เนื้อหารวมทั้งหมดในหลักสูตร

( ผสมผสานอยู่ในกระบวนการฝึกอบรม    แต่มีน้ำหนักของแต่ละเนื้อหาในแต่ละกระบวนการต่างกัน)

1.      ด้านสุขภาพ  และด้านโรค / ความผิดปกติของสุขภาพของประชาชนทุกวัย

1.1  ด้านสุขภาพ

·        ความหมายของสุขภาพ  ที่มีองค์ประกอบทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ  และสภาวะแวดล้อมทางสังคม

·        กลไกการทำให้สุขภาพแข็งแรง

·        การส่งเสริมสุขภาพ  พฤติกรรมที่ส่งเสริมให้มีสุขภาพดี

·        การป้องกันโรค  การควบคุมโรค

·        ทักษะการติดต่อสื่อสารกับผู้ร่วมงานระดับต่าง ๆ การสื่อสารลงในเอกสาร           

1.2 ด้านโรค  และความผิดปกติของสุขภาพ

·        เน้นปัญหาที่เป็นสภาวะโรคที่พบบ่อย  และปัญหาที่เป็นภาวะฉุกเฉินเบื้องต้นด้านต่าง ๆ ได้แก่  ด้านอายุรศาสตร์  ศัลยศาสตร์  และออร์โธปิดิกส์  กุมารเวชศาสตร์  สูติ-นรีเวชศาสตร์  จิตเวชศาสตร์  จักษุวิทยา  และโสตศอนาสิกลาริงส์วิทยา

·        เน้นปัญหาโรคเรื้อรังในประชากรกลุ่มอายุต่าง ๆ

·        เน้นปัญหาสุขภาพที่เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม  บุคลิกภาพ

2.      ด้านแพทย์และระบบบริการ

·        มโนทัศน์  และปรัชญาของเวชปฏิบัติครอบครัว ( Concept and philosophy of family practice )

·        บทบาทของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว  และทีมงาน

·        ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์

·        กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเวชกรรม  ระบบบริการสุขภาพและการประกันสุขภาพ

·        การจัดระบบการบริการ  :  เวลาให้บริการ  การนัดหมาย  การเยี่ยมบ้าน  การจัดคลินิกพิเศษต่าง ๆ และการบันทึกทางการแพทย์

 

 

 

 

 

16

 

·        กระบวนการตรวจและให้คำปรึกษา

                Layout  ของสถานบริการ  การไหลเวียน

                การต้อนรับ ทักทายผู้ป่วย

                การสังเกตผู้ป่วย

                การฟังผู้ป่วย

                การช่วยให้ผู้ป่วยได้พูด

                การค้นหาความคิดความเข้าใจความคาดหวังและความต้องการของผู้ป่วย

                การใช้เอกสารข้องมูลทางการแพทย์  (Medical record )

                                                การเลือกใช้การตรวจ การตรวจพิเศษ  และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

                                                การใช้เวลา

                                                การแปลความหมายของพฤติกรรมต่าง ๆ

                                                การอธิบายปัญหา และการให้คำแนะนำ

                                                การเขียนใบสั่งยา

                                                การบันทึกรายงาน

                                                การจบ ปิดกระบวนการให้คำปรึกษา

·        การส่งต่อและการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

·        การให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาด้านจิตใจและสภาพสังคม  และการดูแลครอบครัว

·        การคัดกรองสุขภาพ ( Health screening)

·        ทีมสุขภาพ

·        ระบบบริการในโรงพยาบาล และสถานพยาบาลระดับต่าง ๆ

·        ระบบบริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบริการเช่น บริการสังคมสงเคราะห์ บริการในชุมชน และแหล่งความช่วยเหลือ และการให้คำแนะนำด้านต่าง ๆ

·        การบริหารระบบสาธารณสุขและการประกันคุณภาพบริการ ( Organization of health )

·        ระบบการส่งต่อผู้ป่วย

·        การนิเทศงาน                                    ·  การบริหารจัดการสถานพยาบาล

·        ระบบการจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ให้บริการด้วยวิธีต่าง ๆ

·        ระบบการเงินที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพ

·        การจัดระบบข้อมูลข่าสารเพื่อบริการและการประยุกต์

·        การจัดการด้านยา

·        ความรู้ด้านระบาดวิทยา ชีวสถิติ และการวิจัย

·        Medical informatics  computer appplication

 

 

 

17

 

 

·        องค์กรวิชาชีพ

·        จริยธรรม และบทบาทที่เกี่ยวกับนิติเวช และกฎหมาย

·        การจัดบริการในชุมชนด้านต่าง ๆ

·        บทบาทของแพทย์ในสังคม  บุคลิกภาพ และพฤติกรรมของแพทย์ในสังคม

3.      ด้านประชาชน  ครอบครัว  และสังคม

·        ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับผู้ป่วย : ลักษณะประชากร  อาชีพ  สถาวะเศรษฐกิจ สังคม  ความเชื่อ  และวัฒนธรรม  โครงสร้างครอบครัว  และความสัมพันธ์ภายในครอบครัว สภาพที่อยู่อาศัย สภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

·        ความรู้ของประชาชนเกี่ยวกับโรค และสุขภาพ

·        ประสบการณ์ของบุคคล และครอบครัวกับการเจ็บป่วยประสบการณ์กับแพทย์

·        การสื่อสาร  และการให้ความรู้ด้านสุขภาพ

·        บุคลิกภาพ

                       ระดับความกังวล และความสามารถในการแก้ปัญหาภาวะผิดปกติ ( Coping )

                       ความรู้ความสามารถและการศึกษา

·        ทัศนคติต่อเรื่องการเจ็บป่วย

                       normal and abnormal sick  roles

                       การปรับตัวกับโรคเรื้อรัง

                       compliance

                       การดูแล รักษาตนเอง

                       ความคาดหวังต่อทีมบริการสุขภาพ

·        พฤติกรรมมนุษย์ และสุขภาพจิต

·        ผู้ป่วยกับสภาพปัญหาต่าง ๆ

                                                การหย่าร้าง

                                                ภาวะขณะกำลังจะเสียชีวิต และเมื่อเสียชีวิตแล้ว

                                                ความยากจนและภาวะว่างงาน

                                                การแยกตัวทางสังคม

                                                การที่มีพ่อ / แม่เพียงคนเดียว

                                                การที่มีปัญหาสุขภาพทางกาย  และด้านจิตใจที่เรื้อรัง

·        ผู้ป่วยที่มีปัญหาพฤติกรรมประเภทต่าง ๆ

 

 

 

 

18

 

II  รายละเอียดเนื้อหาหลักสูตรด้านสุขภาพ  และด้านโรค / ความผิดปกติของสุขภาพ

                   การดูแลสุขภาพ  และด้านโรค  ที่แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวควรรู้  คือ  การดูแลรักษาระดับแตกได้อย่างเหมาะสม  การผสมผสานการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  และการฟื้นฟูสภาพร่วมไปกับการรักษาพยาบาล  สามารถส่งต่อไปรับบริการที่  ระดับอื่นเมื่อจำเป็น  ให้การดูแลที่ต่อเนื่องแก่ประชาชนทั้งที่ตนเองรับผิดชอบเอง  และที่รับการส่งต่อกลับจากแพทย์เฉพาะทาง

                         เน้นการดูแลฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงทีเหมาะสม

ระดับความสามารถที่ต้องการในแต่ละกลุ่มปัญหา

                         ปัญหาสุขภาพที่เป็นภาวะฉุกเฉิน  แพทย์ที่จบการฝึกอบรม

-          สามารถให้การดูแลเบื้องต้นในภาวะวิกฤติได้

-          สามารถปรึกษา  ส่งต่อเมื่อพ้นภาวะวิกฤติเฉพาะหน้าแล้ว

-          สามารถทำหน้าที่ด้าน Family support  ได้

-          สามารถเป็นผู้ประสานงานได้

ปัญหาสุขภาพที่ไม่ฉุกเฉิน ( Elective case )  แพทย์ที่จบการฝีกอบรม

-          สามารถให้การดูแลด้านสุขภาพตั้งแต่เกิดจนตายโดยไม่จำกัดเพศ  อายุ  เชื้อชาติ  และสถานะทางสังคม

-          สามารถบริหารจัดการในด้านการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ได้ ( Medical treatment )

-       สามารถบริหารจัดการในด้านอื่นนอกจากการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ ( Non - medical treatment ) ได้  เช่น  psycho - social support , การฟื้นฟูสนภาพ  การให้การป้องกันโรค  และการส่งเสริมสุขภาพ

-          สามารถติดตามดูกระบวนการเกิดโรค

-          สามารถให้การรักษาดูแลในลักษณะเป็น ambulatory care , appropriate  hospital care และ home care ได้

-          สามารถส่งปรึกษาผู้ชำนาญการเพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง  ก่อนรับกลับมาดูแลต่อในลักษณะ ambulatory care

 

 

ความรู้ความสามารถด้านเฉพาะทางที่เรียนรู้ในแต่ละกลุ่มปัญหานั้น  เพื่อเป็นพื้นฐานให้

แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวสามารถให้การดูรักษาปัญหาสุขภาพที่เป็นเฉพาะทางด้านนั้นได้เองโดยตรง  รวมทั้งเพื่อรู้ว่าควรส่งต่อเมื่อไร  และเพื่อประสานเชี่อต่อความรู้ความเข้าใจระหว่างสาขาในการให้บริการอย่างเป็นองค์รวมแก่ประชาชน  ซึ่งแพทย์ที่ฝึกอบรมจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในระดับที่ลึก

 

 

 

 

 

19

 

พอประมาณที่จะผสมผสานความรู้ได้อย่างเหมาะสม  ในรายละเอียดวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละกลุ่มปัญหา  มีดังรายละเอียดแนบท้ายนี้

กระบวนการเรียนรู้ในส่วนนี้ได้จากการเรียนรู้  จากแพทย์เฉพาะทางในแต่ละสาขา  และ

แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว / เวชปฏิบัติทั่วไป  หรือแพทย์ที่ปฏิบัติงานในลักษณะเวชปฏิบัติทั่วไปที่โรงพยาบาลใหญ่  และสถานพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว / ทั่วไป  ตลอดจนเรียนรู้จากกระบวนที่ผู้รับผิดชอบส่วนเวชปฏิบัติครอบครัว  ที่ช่วยในการประสานเชื่อมโยงความรู้ระหว่างสาขาต่าง ๆ

รายละเอียดเนื้อหาหลักสูตรในหมวดวิชาสาขาต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

1.       หมวดวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว

2.       หมวดวิชาอายุรศาสตร์

3.       หมวดวิชากุมารเวชศาสตร์

4.       หมวดวิชาศัลยศาสตร์

5.       หมวดวิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์

6.       หมวดวิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา

7.       หมวดวิชาจิตเวชศาสตร์

8.       หมวดวิชาจักษุวิทยา

9.       หมวดวิชาวิสัญญีวิทยา

10.    หมวดวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู

11.    หมวดวิชาโสต ศอ นาสิก ลาริงส์วิทยา

12.    หมวดวิชาตจวิทยา

13.    หมวดวิชารังสีวิทยา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

20

 

 

1.หมวดวิชาเวชปฏิบัติทั่วไป / เวชศาสตร์ครอบครัว

                         สถานฝึกอบรมต้องจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีระบบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์  ดังนี้

วัตถุประสงค์เฉพาะ

                         เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมหรือแพทย์ประจำบ้าน  มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1.       บอกหลักการของเวชปฏิบัติทั่วไป / เวชปฏิบัติครอบครัวได้  ตลอดจนทราบและมีเจต

คติที่ดีต่อบทบาทของตนเอง  งานของเวชปฏิบัติทั่วไป / เวชปฏิบัติครอบครัว  สามารถเขียนและอ่านผังครัวเรือนและครอบครัวได้

2.       ด้านเวชปฏิบัติผู้เข้ารับการอบรมหรือแพทย์ประจำบ้านต้องสามารถ

2.1    สร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างตนเองกับผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน

2.2   ดำเนินการกระบานการให้คำปรึกษา  ( Consultation process )  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งหมายรวมถึง การติดต่อสื่อสารข้อมูลในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนเข้าใจถึงปัญหาสุขภาพทางกาย สภาวะจิตใจและผลกระทบทีเกี่ยวข้อง การเลือกใช้การตรวจร่างกายและกระบวนการาวินิจฉัยได้อย่างเหมาะสม และการตัดสินใจทางคลินิก  ตลอดจนการให้คำแนะนำการดูแลที่เหมาะสม  รวมทั้งการบริการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรคและการบริหารจัดการอื่นเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับลักษณะบุคคลและครอบครัว

2.3   สามารถบันทึกข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับผู้ป่วยและครอบครัวที่อยู่ในความดูแลจากการสัมภาษณ์การตรวจร่างกาย  การสำรวจสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยแล้วสรุปวิเคราะห์เป็นรายการ ปัญหาทั้งหมด  ( Problem List )  อย่างมีระบบตามแบบ Problem Oriented Medical Record ( POMR) แล้วเก็บเป็น Family file

2.4   สามารถบันทึกรายงานผู้ป่วยและครอบครัวโดยวิธีการ Approach  ผู้ป่วยแบบเป็นขั้นตอน ตั้งแต่  case approach, the whole person approach, family oriented approach, family as a unit approach

2.5   ให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม เบ็ดเสร็จ   และต่อเนื่อง  อันหมายถึงขณะการให้บริการที่คลินิกไม่เพียงแต่สนใจรักษาโรคเท่านั้น  ยังแสวงหาความสนใจในการใช้ชีวิตประจำวัน  นิสัยการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ป่วยและสภาวะจิตใจของผู้ป่วย  มัทักษะในการตัดสินใจส่งต่อให้แก่ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม  ตลอดจนการบริหารจัดการ  ติดต่อประสานงานเพื่อส่งต่อผู้ป่วยไปรับการดูแลที่สถานพยาบาลอื่น  และ / หรือสถานบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น  หน่วยงานสังคมสงเคราะห์   ได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้มีการดูแลสุขภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและดูแลแบบเป็นองค์รวม

 

 

 

21

 

 

 

3.     ได้เข้าใจโรคและสามารถวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของโรค 

 เข้าใจถึงการสืบสวนการระบาดของโรค  และการประเมินวิธีทดสอบเพื่อการวินิจฉัยโรค

4.       ได้เข้าใจถึงการบริหารงานสาธารณสุข  และสามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้

5.       ได้เข้าใจถึงระบบบริการสุขภาพ

6.       ได้เข้าใจถึงเศรษฐศาสตร์ทางการแพทย์

7.       ได้เข้าใจถึงระบาดวิทยาคลินิกเชิงพรรณนา เชิงวิเคราะห์  และเชิงทดลอง และ

ระบาดวิทยาประยุกต์

8.       ได้เข้าใจถึงอาชีวเวชศาสตร์     อันหมายรวมทั้งหลักการควบคุมป้องกันโรคทาง

อาชีว อนามัย  การประเมินความเจ็บป่วย และอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน  การค้นหา  การบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และความรู้พื้นฐานในการประเมินความทุพลภาพ

 

เนื้อหาการเรียนรู้  ให้ครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

I.                    ความรู้พื้นฐานของเวชปฏิบัติทั่วไป/เวชปฏิบัติครอบครัว  ได้แก่

1.       Dimension of Family Medicine and Practice

            - Definition Family Medicine of Practice

                - Interlocking Dimension of Practice

                                A. The level of  Practice

     1)  The individual level

1.1    The case approach

1.2    The whole person approach

                                                                       2) The family  level

1.1    A family level

1.2    The family ( or household )  as aunit

                                                                        3) The community level  ( ซึ่ปฏิบัติงานร่วมกับวิชาเวชศาสตร์ชุม

                                                                                ชน หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง )

                                                                                3.1 The pratice

3.2  Contigious group

3.3    Relationship networks

3.4    Special group or communities

 

 

 

 

22

 

 

                                                                B. Pattern of care

1)       Primary care

2)       Comprehensive and intergrated care

3)       Continuing care ( including care after referring back from specialists )

4)       Referral and consultation

5)       Care as a team members

                             2. Introduction to the sociology of the family

A.       Family structure

B.       Family  role

C.      Family values

D.      Adjustment and family crisis

                             3. Family Epidemiology

A.       Structure and function of families

B.       Time flow charts and life events

                            4. Family Life Cycle

A.       Pre and early marital stage

B.       The expectant couple  ( marriage )

C.      The first child

D.       The family with the adolescent

E.       The middle age period

F.       Old age

G.      Death and dying

H.      Grief

                            5. Family  Therapy

                            6. Family Presentation

                            7.  Evaluation  of Primary Medical Care

II.                  การสื่อสาร  การสัมภาษณ์  และการให้คำปรึกษา

III.                จริยธรรม

IV.                 สังคมศาสตร์  และพฤติกรรมศาสตร์

V.                   จิตวิทยา

 

 

 

23

 

 

VI.                 ระบบบริการสุขภาพ

VII.               เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข

VIII.             ระบาดวิทยา

IX.                 การบริการงานสาธารณสุข

X.                   ความรู้พื้นฐานด้านอาชีวเวชศาสตร์

2. หมวดวิชาอายุรศาสตร์

วัตถุประสงค์

สถาบันฝึกอบรมต้องจัดการเรียนการสอน และจัดประสบการณ์  การเรียนรู้ให้ผู้เข้ารับการ

ฝึกอบรมหรือแพทย์ประจำบ้าน มีโอกาสได้รับความรู้และทักษะเกี่ยวกับ

1.     การวินิจฉัย บำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพ  การป้องกันโรค  และส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มอาการหรือโรคที่พบบ่อยในวัยรุ่น  ผู้ใหญ่  ผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ และผู้สูงอายุ

2.     การวินิจฉัยและการให้การรักษาเบื้องต้น  หรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในกลุ่มอาการหรือภาวะที่เกินขีดความสามารถ  และสามารถปรึกษาหรือส่งต่อได้เหมาะสม

3.       การบำบัดผู้ป่วยฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

                        ประสบการณ์ต้องประกอบด้วยการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล  ผู้ป่วยนอก  ด้วยความรู้ทั่วไปจนถึงเนื้อหาเฉพาะทาง  ได้แก่ โรคหัวใจ  โรคระบบทางเดินอาหาร  โลหิตวิทยา  โรคระบบต่อมไร้ท่อและเมตะบอลซึ่ม  โรคไต  โรคปอด  โรคติดเชื้อ  โรคกระดูกและรูมาติสซึ่ม  โรคภูมิแพ้  โภชนาการคลินิก  จิตวิทยา  มะเร็งวิทยา  พิษวิทยา  และบริบาลในผู้ป่วยหนัก

3.  หมวดวิชากุมารเวชศาสตร์

                         วัตถุประสงค์

                                สถาบันฝึกอบรมต้องจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์เรียนรู้เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมประแพทย์ประจำบ้าน มีความสามารถด้านต่าง ๆ ดังนี้

1.       มีความรู้และความเข้าใจการเจริญเติบโตทั้งทางกายและใจของเด็ก  ทั้งภาวะปกติ และผิดปกติ

2.       วินิจฉัย บำบัด และป้องกันโรคทางกุมารที่พบบ่อยได้

3.       บริบาลทารกแรกเกิดครบกำหนด  และอธิบายหลักการบริบาลทารกแรกเกิดนำหนักตัวน้อยได้

4.       แยกโรคและสาเหตุของความเป็นไปของโรคได้ว่า  อาจมีพื้นฐานจากความผิดปกติทางด้านจิตใจ 

        ( Psychogenic ) ส่งแวดล้อม  ( Environment)  หรือพฤติกรรม ( Behavior ) และอารมณ์ของเด็กที่    

         ผิดปกติไปเพราะสิ่งแวดล้อมอย่างง่ายได้

5.       มีความสามารถทำหัตกรรมบางอย่างเพื่อการวินิจฉัย และ/หรือ การบำบัดรักษาได้

6.       ให้ และ/ หรือ แนะนำการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค    รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมแก่เด็กได้

7.       บริบาลผู้ป่วยฉุกเฉินทางกุมารเวชกรรม และผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ตามความเหมาะสม

8.       ชันสูตรทางห้องปฏิบัติการอย่างง่ายและแปลผลได้  รวมทั้งแปลผลภาพรังสีโรคเด็กที่พบบ่อยได้

24

9.     การวินิจฉัย และการให้การรักษาเบื้องต้น หรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในกลุ่มอาการหรือภาวะที่เกินขีดความสามารถ และสามารถปรึกษาหรือส่งต่อได้อย่างเหมาะสม

4. หมวดวิชาศัลยศาสตร์

วัตถุประสงค์

                   สถาบันฝึกอบรมต้องจัดการเรียนการสอน และประสบการณ์การเรียนรู้  เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปรือแพทย์ประจำบ้าน  ได้รับความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับศัลยศาสตร์ทั่วไป  และศัลยศาสตร์เฉพาะทาง  เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านได้พัฒนาความรู้ความสามารถในหัตกรรมที่แพทย์ต้องประสบได้แก่

1.       ความรู้พื้นฐานทางศัลยศาสตร์  ตลอดจนทักษะพิสัย  เพื่อการผ่าตัดเอง และช่วยเหลือศัลยแพทย์ ในการผ่าตัด

2.     การวินิจฉัย  รักษา และป้องกันภาวะฉุกเฉินทางศัลยศาสตร์และอุบัติภัย  สามารถดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัด  ป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนได้ตลอดจนส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญทางศัลยศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม

3.     การวินิจฉัย  รักษา  และป้องกันโรคที่พบบ่อยทางศัลยศาสตร์  โดยทราบข้องบ่งชี้ข้อห้าม และ ความเสี่ยงของการรักษาโดยวิธีต่างๆ ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด  การดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด  สามารถแนะนำ  อธิบาย  และให้การประคับประคองด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัวได้

4.     การแนะนำ  และการเตรียมผู้ป่วยที่จำเป็นต้องส่งต่อศัลยแพทย์เฉพาะสาขาดูแล  ตลอดจนการดูแลรักษาต่อ  ภายหลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาจากศัลยแพทย์เฉพาะสาขาแล้ว

5.       การดูแลปัญหาทางศัลยศาสตร์ของผู้ป่วยนอกที่พบบ่อย  สามารถวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างมีคุณภาพ

5.  หมวดวิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์

วัตถุประสงค์

สถาบันฝึกอบรมต้องจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์เรียนรู้    เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึก

อบรมหรือแพทย์ประจำบ้าน มีความรู้ความสามารถด้านต่าง ๆ ดังนี้

1.       สามารถวินิจฉัย และรักษาโรคหรือภาวะที่พบบ่อยทางศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์  และ

ให้การรักษาเบื้องต้นได้

2.       สามารถวินิจฉัยภาวะฉุกเฉินทางออร์โธปิดิกส์  และสามารถให้การรักษาเบื้อง

3.       สามารถวินิจฉัยโรคหรือภาวะฉุกเฉินทางออร์โธปิดิกส์  และสามารถให้การรักษาเบื้อง

ต้นก่อนส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทางออร์โธปิดิกส์

4.       สามารถอธิบายข้อบ่งชี้  ข้อห้าม และภาวะแทรกซ้อนของการรักษาหรือการผ่าตัดในแต่

ละโรคหรือภาวะแก่ผู้ป่วย และตัดสินใจได้ว่าโรคหรือภาวะใดควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออร์โธปิดิกส์

6. หมวดวิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา

วัตถุประสงค์

                         สถาบันฝึกอบรมต้องจัดการเรียนการสอน และประสบการณ์เรียนรู้ในเรื่องต่อไปนี้

1.       ความรู้พื้นฐานทางสูติศาสตร์ – นรีเวชกรรม  ที่เกี่ยวข้องกับกายวิภาคขออวัยวะสืบพันธุ์สตรี 

รวมทั้งเต้านม เชิงกราน  ระบบทางเดินโลหิต น้ำเหลือง และเส้นประสาท และความรู้ทาง   สรีรวิทยาของระบบสืบพันธุ์

25

 

สตรี  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจของสตรีระหว่างการตั้งครรภ์   การคลอด  การให้นมบุตร 

ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสตรีหลังหมดระดูและ ฮอร์โมนที่ควบคุมอวัยวะสืบพันธุ์สตรี

2.       การวินิจฉัย  รักษา และดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์ปกติ  โดยดูแลระหว่างตั้งครรภ์ ขณะคลอด 

หลังคลอด และการให้นมบุตร

3.       การวินิจฉัย  รักษา และดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์ผิดปกติ ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างการ

ตั้งครรภ์ และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

4.       การวินิจฉัยและบำบัดรักษา ผู้ป่วยฉุกเฉินทางด้านสูติ – นรีเวชกรรม

5.       การวินิจฉัย  รักษา และการป้องกันโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่พบบ่อยทางสูติ –

นรีเวชกรรม

6.       ความรู้อื่น ๆ เช่น การวางแผนครอบครัว  การมีบุตรยาก  การใช้ยาชา และยาระงับปวด

ในสูติ – นรีเวชกรรม

7.       การทำสูติศาสตร์หัตถการ  และการผ่าตัดทางนรีเวชกรรม  โดยเฉพาะสมกับความจำเป็น

เช่น เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดกับผู้ป่วยที่แพทย์ต้องประสบ  และต้องสามารถอธิบายข้อบ่งชี้  ข้อห้ามและภาวะแทรกซ้อน

ของการรักษา  หรือการผ่าตัด  ในแต่ละโรคหรือแต่ละภาวะ  เพื่อจะสามารถแนะนำอธิบายและให้การประคับประคองด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนตัดสินใจว่าโรคหรือภาวะความปรึกษาแพทย์เฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องต่อไป

8.       การวินิจฉัย  และรักษาดูแลผู้ป่วยกรณีถูกข่มขืน ในเบื้อต้น และปรึกษาแพทย์เฉพาะสาขา    

ที่เกี่ยวข้องต่อไป

9.       การวางแผนครอบครัว และการตรวจหามะเร็งเริ่มแรกทาง สูติ – นรีเวชกรรม  โดยสอดคล้องกับ

นโยบายของชาติ

10.    การให้คำปรึกษา ( Counseling ) ในปัญหาที่พบบ่อยทางสูติ – นรีเวชกรรม

7. หมวดวิชาจิตเวชศาสตร์

วัตถุประสงค์

                         สถาบันฝึกอบรมควรจัดการเรียน  การสอน  และจัดประสบการณ์เรียนรู้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหรือแพทย์ประจำบ้าน  เห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตของบุคคล  ครอบครัว และชุมชน  โดยเฉพาะแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมแล้วสามารถ

1.       วินิจฉัย แก้ไขปัญหา บำบัดรักษา พยากรณ์โรค และให้คำแนะนำปรึกษาอย่างถูกต้อง

ในโรคทางจิตเวชศาสตร์ที่พบบ่อยได้ เช่น

-          Mental disorder  เช่น Schizophrenia, Mood disorder, organic mental disorders ที่

พบบ่อย neurosis  บางชนิด เช่น anxiety disorders, dsythymia, somatoform disorders, psychophysiologic disorders ที่พบบ่อย เช่น  alcohol  and drug abuse and dependence และ adjustment disorders รวมทั้ง psychotropic drug and their side effects และ common child psychiatric problem

-          จิตเวชศาสตร์ชุมชน

2.       วินิจฉัยภาวะหรือโรคที่ยากและซับซ้อน และส่งปรึกษาจิตแพทย์ได้อย่างเหมาะสม

3.       ให้การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางจิตเวชศาสตร์  ให้การรักษาเบื้อง

ต้นได้อย่างเหมาะสม และสามารถวิเคราะห์แยกโรคระหว่างการรักษาได้

26

 

4.       สามารถให้คำแนะนำด้านจิตเวชและสุขภาพจิตในเรื่องการรักษา  ป้องกัน  ฟื้นฟูสภาพ

แก่ผู้ป่วยและครอบครัว

5.       ให้คำแนะนำ บริการและวางแผนการในงานด้านเกี่ยวกับสุขภาพจิตแก่ชุมชนได้

6.       มีทักษะต่อไปนี้

6.1    ควรทำได้

Psychiatric assessment

-  Physical and neurological examination

-  Therapeutic skill  -  drug therapy

                                -  supportive or brief psychotherapy

-  environment manipulation

Management of psychiatric emergencies

Parental guidance

6.2    น่าทำได้

                Family counselling

8. หมวดวิชาจักษุวิทยา

วัตถุประสงค์

                   เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม  มีความรู้ความสามารถ  และประสบการณ์ในการแก้ปัญหา  การรักษา  การป้องกันโรค  และส่งเสริมสุขภาพด้านจักษุ  และสามารถปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจักษุวิทยาได้อย่างเหมาะสม  โดยมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านต่อไปนี้

1.       มีความรู้พื้นฐานทางกายภาพ  สรีระภาพ และประสาทวิทยาที่เกี่ยวข้องกับตา

2.       สามารถให้การวินิจฉัยแยกโรคที่สำคัญดังต่อไปนี้

2.1 โรคที่ทำให้การมองเห็นสูญเสียโดยฉับพลัน  (Acute visual loss )  ได้แก่ acute angle closure glaucoma, central or branch  retinal artery occlusion, central retinal vein  occlusion, optic neuritis

2.2 โรคที่ทำให้การมองเห็นสูญเสียไปอย่างช้า ๆ  ( chronic visual loss ) ได้แก่   cataract chronic open angle glaucoma, senile macular degeneration, และ retinal detachment

2.3 โรคที่มีความสัมพันธ์กับโรคทาง systemic disease ได้แก่ diabetic retinopathy,  hypertensive retinopathy, thyroid associated orbitopathy

2.4 สายตาผิดปกติ  (สายตาสั้น ยาว เอียง ) และตาเหล่

3.     สามารถให้การวินิจฉัย และรักษาโรคที่ทำให้เกิดอาการตาแดงได้เอง เว้นแต่จะมีภาวะแทรกซ้อน หรือรักษาไปแล้วไม่ได้ผล จึงส่งผลต่อไปยังจักษุแพทย์ ได้ในรายที่มี ocular injury ทั้ง blunt และ penetrating injure รวมทั้ง acid และ alkaline burn ด้วย

4.     สามารถให้การวินิจฉัย และการรักษาโรคที่ทำให้เกิดอาการตาแดงได้เอง  เว้นแต่จะมีภาวะแทรกซ้อน หรือรักษาไปแล้วไม่ได้ผลจึงส่งต่อไปยังจักษุแพทย์  ได้แก่ acute conjunctivitis, allergic conjunctivitis, meibomiaitis, blepharitis

 

27

 

5.     สามารถให้การวินิจฉัย ให้การรักษาเบื้องต้น และส่งต่อผู้ป่วยไปยังจักษุแพทย์ได้ในโรคตาแดงที่เกิดจาก corneal ulcer, iritis, acute angle closure glaucoma, acute dacryocystitis

6.        รู้  basic principle ของการใช้ยาทางตา

7.        มีความรู้พื้นฐานหัตการทางจักษุดังนี้

7.1 Slit lamp biormicroscope

7.2 Schiotz Tonometer

7.3 Direct opthamoscope

7.4 Exophthalmometer

 

9.  หมวดวิชาวิสัญญีวิทยา

วัตถุประสงค์

                   เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม  มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ในการวางยาสลบ  การให้ยาชา โดยวิธีต่าง ๆ

1.       สามารถประเมินสภาพผู้ป่วยและทราบความผิดปกติที่มีผลต่อการให้ยาระงับความรู้สึกได้  ก่อนให้ยาระงับความรู้สึก

2.       สามารถเตรียมผู้ป่วยสำหรับการให้ยาระงับความรู้สึกได้อย่างถูกต้อง  ปลอดภัย

3.       สามารถอธิบายผลของยาที่นำมาให้ก่อน  และระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึก ได้อย่างถูกต้อง

4.       เข้ามจขั้นตอนของการให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง

5.     สามารถวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นขณะให้ยาระงับความรู้สึก  และรู้ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ให้ยาสลบ  (วิสัญญีพยาบาล) แก้ไขภาวะผิดปกติดังกล่าวได้

6.     สามารถให้ยาสลบทั่วไป และยาชาเฉพาะ spinal anesthesia  ได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน พร้อมกับประเมินความสามารถของตนเองได้อย่างถูกต้อง เพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

7.     สามารถให้การดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกหรือยาชาเฉพาะที่  โดยเฉพาะการรักษาปัญหาเร่งด่วนฉุกเฉินทางระบบหายใจ  ระบบไหลเวียนเลือด  หรืออาการผิดปกติทางสมองได้อย่างปลอดภัย

8.       สามารถร่วมทีมปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตได้อย่างถูกต้อง ( CPR)

9.       อธิบายหลักการใช้เครื่องช่วยหายใจ และสามารถใช้กับผู้ป่วยได้

10. หมวดวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู

วัตถุประสงค์

                   เพื่อให้แพทย์ประจำบ้าน หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาการรักษาโรค  การป้องกันความพิการ  และส่งเสริมสุขภาพด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู  รวมทั้งสามารถปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้อย่างเหมาะสม  โดยมีความรู้ความสามารถดังนี้

 

28

1.       มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงาน และวิธีกรทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู  ได้แก่

1.1    คำจำกัดความและขอบเขตของเวชศาสตร์ฟื้นฟู และทีมงาน

1.2    เครื่องมือทางกายภาพ

1.3    การออกกำลังกายเพื่อการรักษา

1.4    เครื่องช่วยการเคลื่อนไหว  กายอุปกรณ์

1.5    การแปลผลการวินิจฉัยด้วยไฟฟ้า  ( Electrodiagnosis )

2.     อธิบายเกี่ยวกับโรค  ภาวะ  หรือกลุ่มอาการที่พบบ่อยและสำคัญ  สามารถให้การวินิจฉัยรักษา และฟื้นฟูสภาพเบื้องต้น  รวมทั้งการให้คำแนะนำที่เหมาะสม

3.     อธิบายเกี่ยวกับโรค  ภาวะ หรือกลุ่มอาการที่ยากต่อการรักษาและฟื้นฟูสภาพโดยแพทย์ทั่วไป  ได้แก่ ภาวะบาดเจ็บเส้นประสาทส่วนปลาย  ภาวะข้ออักเสบ  และโรคปอด   สามารถให้การวินิจฉัย  และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบางอย่างที่เกิดได้  ส่วนการปฏิบัติต่อไปให้ส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง  เพื่อการฟื้นฟูสภาพที่จำเป็น

4.       ตรวจโดยใช้เครื่องมือแพทย์พื้นฐาน และเครื่องมือพิเศษ

4.1   การตรวจที่ต้องสามารถทำได้ถูกต้อง  ได้แก่  การตรวจกำลังกล้ามเนื้อ  ( manual muscletest )  การวัดพิสัยข้อ  โดยใช้  goniometer

4.2   การตรวจต้องรู้ข้อบ่งชี้ของการส่งตรวจ และสามารถแปลผลการตรวจได้  ได้แก่ การส่งตรวจภาพรังสีทรวงอก  และภาพรังสีกระดูกและข้อ

4.3    การตรวจที่ต้องรู้ข้อบ่งชี้ของการตรวจ  และเข้าใจวิธีการพอสังเขป  ได้แก่ การตรวจวินิจฉัยด้วยไฟฟ้า ( Electrodiagnosis )

5.       หัตถการที่จำเป็นหรือมีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาสุขภาพ ได้แก่

5.1   หัตถการพื้นฐานทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ต้องรู้ข้อบ่งชี้ของการทำ  เข้าใจวิธีการทำภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น  และเคยทำด้วยตนเอง ได้แก่ postural drainage, stump banage, gait aid  Training

5.2   หัตถการเฉพาะทางที่ต้องรู้ข้อบ่งชี้ และภาวะแทรกซ้อน ควรเคยเห็น  และอาจทำได้ในกรณีจำเป็น  ได้แก่  trigger point injection, injection for tendinitis

11. หมวดวิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา

วัตถุประสงค์

                   เพื่อให้แพทย์ประจำบ้าน หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความสามารถ ในการแก้ปัญหาการรักษาโรคต่าง ๆ ด้านหู  คอ  จมูก  และสามารถปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทาง  โสต  นาสิก  ลาริงซ์วิทยา  ได้อย่างเหมาะสม  โดยแพทย์จะต้องมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านนี้ต่อไป

1.     ความรู้พื้นฐานทางกายภาพ  สรีภาพ และประสาทวิทยาที่สัมพันธ์ต่อระบบศรีษะและคอ หลอดลม และทางเดินอาหาร ระบบโสตสัมผัส และการพูดที่เกี่ยวข้องกับหู คอ จมูก

2.       วินิจฉัยและรักษาโรค หู คอ จมูก ที่พบบ่อย  รวมทั้งการผ่าตัดอย่างง่าย

3.     วินิจฉัยและรักษาเบื้องต้น  หรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในกลุ่มอาการ หรือภาวะที่เกินขีดความสามารถ และสามารถปรึกษาหรือส่งต่อได้อย่างเหมาะสม เช่น ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์  หรือเป็นมาแต่กำเนิด  เนื้องอกต่าง ๆ และอันตรายจากภายนอก

 

29

4.     มีความสามารถในการใช้เครื่องมือตรวจ  ได้แก่  head mirror, indirect และ direct laryngoscope, otoscope, nasal speculum, nasal forceps, ear speculum, nasal and ear section ได้อย่างเหมาะสม

5.       มีความสามารถในการทำหัตถการดังนี้

                          หัตการที่ต้องทำได้

(1)     Direct and indirect laryngoscope

(2)     Indirect Nasopharyngoscopy

(3)   Remove foreign body from nose, Tonsil, phyrynx  (สำหรับ foreign body ใน ear ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิต  สามารถทำให้สิ่งมีชีวิตหยุดเคลื่อนไหวก่อนที่จะส่งต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้)

                          หัตถการที่ควรทำได้

(1)     Aural toilet

(2)     Anterior and posterior nasal packing

12. หมวดวิชาตจวิทยา

วัตถุประสงค์

            สถาบันฝึกอบรมต้องจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีระบบเพื่อให้แพทย์มีความรู้  ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้

1.       มีความรู้พื้นฐานทางด้านตจวิทยาที่เกี่ยวข้องกับกายวิภาค  สรีระวิทยา  และพยาธิสภาพของระบบผิวหนัง

2.       การวินิจฉัย  และรักษาโรคที่พบบ่อยทางด้านตจวิทยา  รวมทั้งหัตถการเบื้องต้น

3.       การวินิจฉัย และการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินทางด้านตจวิทยา

4.       การให้คำปรึกษา  แนะนำ  แก่ประชาชนเกี่ยวกับปัญหาที่พบบ่อยทางด้านผิวหนัง

                    13. หมวดวิชารังสีวิทยา

วัตถุประสงค์

                   สถาบันฝึกอบรมต้องจัดการเรียนการสอน และประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีระบบเพื่อให้แพทย์มีความรู้  ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้

1.     มีความรู้พื้นฐานทางด้านรังสีวิทยา และเครื่องมือตรวจวินิจฉัย และรักษาทางด้านรังสีวิทยาพร้อมกับรู้ถึงผลข้างเคียง  และผลกระทบจากเครื่องมือการตรวจทางด้านรังสีวิทยา

2.       การอ่านผลเอกซเรย์ และผลการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือพื้นฐานทางรังสีวิทยา

3.     รู้ถึงข้อบ่งชี้ในการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทางด้านรังสีวิทยาได้อย่างเหมาะสม และสามารถเตรียมผู้ป่วยก่อนการตรวจได้ถูกต้อง

4.       การให้คำปรึกษากับผู้ป่วย และผู้ที่เกี่ยวข้องในการตรวจ / รักษาด้วยเครื่องมือทางด้านรังสีวิทยา

 

 

 

 

 

 

30

 

 

ภาคผนวก  2
รายละเอียดของกิจกรรมการเรียนรู้ในหลักสูตร

 

1.  การประชุมเชิงปฏิบัติการ

1.1  การประชุมเชิงปฏิบัติการ  ครั้งที่ 1  : การเตรียมแนวคิด  และความเข้าใจต่องานเวชปฏิบัติครอบครัว(Introduction  to Family Practice ) (2 สัปดาห์)

วัตถุประสงค์

                         เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

1.       ตระหนักและเห็นถึงความเชื่อมโยงของปัญหาสุขภาพทางกาย กับสภาวะจิตใจ

2.       ตระหนักและเข้าใจถึงปัจจัยต่าง    ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และการดูแลสุขภาพของประชาชน

3.       เข้าใจถึงความต้องการของประชาชนต่อบริการสุขภาพ

4.       เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ปรัชญา และหลักการสำคัญของงานเวชปฏิบัติครอบครัว

5.       เข้าใจ และตระหนักถึงบทบาทของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว  และความสัมพันธ์กับบริการอื่น ๆ

6.       เข้าใจ แนวทางคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

7.       เข้าใจแนวทางหลักของกระบวนการการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้

เนื้อหา

1.       พฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพของประชาชน และปัจจัยที่มีผลกระทบ

2.       ประสบการณ์ ความคาดหวังของประชาชนต่อบริการสุขภาพและผลของบริการที่ได้รับ

3.       ผลกระทบของปัญหาสุขภาพต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันและสภาวะเศรษฐกิจของผู้ป่วย และครอบครัว

4.       ปัจจัยที่กระทบต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการที่ได้รับ

5.       กระบวนการทำงานเป็นทีม และกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์

6.       หลักการจัดระบบบริการสาธารณสุขแบบบูรณาการ

7.     แนวคิด  ปรัชญา และหลักการสำคัญของงานเวชศาสตร์ครอบครัว และบทบาทแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว และความเชื่อมโยงกับบทบาทของบุคลากรอื่น

8.       แนวทางหลักในกระบวนการฝึกอบรมของหลักสูตรนี้  ความเชื่อมโยงของกิจการเรียนรู้ต่าง ๆ 

วิธีการ  กระบวนการหลักเป็นกระบวนการที่เป็น Active learning และ experiential learning

1.       ใช้กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อจำลองสถานการณ์จริงในการเรียนรู้

2.       ศึกษา  เก็บข้อมูลการใช้บริการในสถานการณ์จริง  ร่วมกับการวิเคราะห์  และเสนอผล

3.       อภิปราย  วิจารณ์  สรุป  และบรรยายเนื้อหาเพิ่มเติมตามความเป็นจริง

 

31

 

1.2  การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2  :  จิตวิทยา  การสื่อสาร  และการให้คำปรึกษา

( 1 สัปดาห์ )

วัตถุประสงค์

                         เพื่อให้ผู้รับการอบรม

1.       ตระหนักถึงความสำคัญของจิตวิทยา  กระบวนการสื่อสาร  และการให้คำปรึกษา  ที่ประสานในการให้บริการของแพทย์

2.       มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจิตวิทยาบุคคล  และครอบครัว

3.       มีความรู้พื้นฐาน  และทักษะเบื้องต้นในการสื่อสาร  แปลความหมายพฤติกรรม  และการแสดงออกด้วยวิธีการต่าง ๆ

4.       มีความรู้พื้นฐานและทักษะเบื้องต้นในกระบวนการให้คำปรึกษา ( counselling )

เนื้อหา

1.       ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจิตวิทยาบุคคล  และครอบครัว

2.       ผลกระทบทางด้านจิตวิทยาต่อสุขภาพ  และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

3.       ความรู้พื้นฐานด้านกระบวนการสื่อสารด้วยวิธีการต่าง ๆ

4.       ผลกระทบของการสื่อสารในการให้บริการ  และจัดบริการสุขภาพ

5.       ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการให้คำปรึกษา

วิธีการ

1.       การบรรยาย  ร่วมกับการทำกิจกรรมที่เป็นสถานการณ์จำลอง  อภิปราย  แลกเปลี่ยน

2.       ฝึกปฏิบัติในด้านการสื่อสาร  และการให้คำปรึกษา

1.3  การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 :  การประเมินสถานการณ์ปัญหา ( 2 สัปดาห์ )

วัตถุประสงค์    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

1.       ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์  และการเรียนรู้จากการฝึกอบรม  และการปฏิบัติงานในแผนกต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา

2.     มีความรู้  ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย  ระบาดวิทยาคลินิก  และเศรษฐศาสตร์คลินิก  สังคมศาสตร์การแพทย์  เพื่อใช้ประกอบในการประเมินสถานการณ์ปัญหา ( Assessment )  ของผู้ใช้บริการ  และครอบครัว

3.       สามารถค้นหาปัญหา (Problem identification )  ที่นอกเหนือจากปัญหาด้านคลินิก  และโรคได้

เนื้อหา

1.       กระบวนการวิจัยพื้นฐาน

2.       ระบาดวิทยาคลินิก

3.       เศรษฐศาสตร์คลินิก

4.       สังคมศาสตร์การแพทย์

5.       กระบวนการประเมินปัญหา  และค้นหาปัญหา

32

วิธีการ

1.       การอภิปราย  แลกเปลี่ยนประสบการณ์

2.       การบรรยาย  และทดลองฝึกหัดจากสถานการณ์จำลอง

1.4  การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 4 ( ปีที่ 2 ) : การวิเคราะห์ ( 2 สัปดาห์ )

วัตถุประสงค์  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

1.       ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์  และการเรียนรู้ร่วมกัน  อย่างต่อเนื่อง

2.       มีความรู้  และความเข้าใจในกระบวนการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา  การวิเคราะห์ปัญหา  การหาสาเหตุของปัญหา

3.       สามารถกำหนดหัวข้อการศึกษาวิจัย  และวิธีการศึกษาได้เหมาะสม

เนื้อหา

1.     เป็นเนื้อหาที่ต่อเนื่องจากการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับกระบวนการวิจัย  ระบาดวิทยาคลินิก  เศรษฐศาสตร์คลินิก  สังคมศาสตร์การแพทย์  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจัดลำดับ  ความสำคัญของปัญหา  กำหนดหัวข้อการศึกษา  และวางแผนการศึกษาวิจัยได้เหมาะสม

2.       การอ่านเอกสารทางวิชาการ

3.       การบริหารจัดการระบบสาธารณสุข

วิธีการ

1.       การนำเสนอ  อภิปราย  วิจารณ์

2.       การบรรยาย  การฝึกทดลองปฏิบัติ

1.5 การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 5 ( ปีที่ 3 ) :  การประเมินผลบริการ  และการนำเสนอผลการศึกษา    ( 2 สัปดาห์ )

วัตถุประสงค์  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

1.       มีความรู้  ความเข้าใจในกระบวนการประเมินผลบริการ  และการกำกับคุณภาพบริการ

2.       มีความรู้  เกี่ยวกับระบบบริการเวชปฏิบัติครอบครัวในประเทศต่าง ๆ

                     3.   มีความสามารถในการเขียนรายงานการศึกษาวิจัยและนำเสนอผลการศึกษาได้เหมาะสม

เนื้อหา

1.       กระบวนการประเมินผล

2.       หลักการกำกับคุณภาพบริการ ( Quality assurance )

3.       การเขียนรายงานการศึกษา  การนำเสนอผลการศึกษาวิจัย  และการอภิปรายผล

4.       ระบบบริการเวชปฏิบัติครอบครัว  และระบบที่เกี่ยวข้องในประเทศต่าง ๆ

วิธีการ

1.       การบรรยาย  การอภิปราย  ฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จำลอง

2.       การนำเสนอผลการศึกษาของแพทย์ประจำบ้านแต่ละคน  พร้อมการวิจารณ์  เสนอแนะ

 

 

33

 

2.  การฝึกปฏิบัติงานในสถานพยาบาลประเภทต่าง ๆ

2.1  การฝึกปฏิบัติงานในสถานพยาบาลที่เป็นเวชปฏิบัติครอบครัวเพื่อดู role model

 ( 3 สัปดาห์ )

วัตถุประสงค์

                         เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

1.       เข้าใจถึงบทบาทของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว

2.       เข้าใจถึงบริบทแวดล้อมของการปฏิบัติงานของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว

3.       เข้าใจ  และมีความรู้เกี่ยวกับรูปแบบวิธีการให้บริการ  และการจัดบริการที่มีคุณภาพดี

4.       เข้าใจการประยุกต์ความรู้ทางด้านจิตวิทยา  การสื่อสาร  และความรู้ทางการแพทย์ในการนำมาใช้ในการให้บริการที่มีคุณภาพ  และประสิทธิภาพ

5.       เข้าใจกระบวนการให้คำแนะนำ  และกระบวนการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย

เนื้อหา

1.       บทบาทของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว  และปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน  ร่วมกับแสดงให้เห็นถึงความรู้  ความสามารถที่จำเป็นของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว

2.       ระบบบริการสาธารณสุขในระดับต่าง ๆ

3.       การจัดบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชากรกลุ่มต่าง ๆ

4.    กระบวนการตรวจรักษา และให้คำปรึกษา ที่ตระหนักถึงมิติทางด้านจิตวิทยาสังคม

วิธีการ

1.       สังเกต และร่วมปฏิบัติงานกับแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว  แล้วแลกเปลี่ยนอภิปราย

ปัญหากับวิทยากร

2.       สังเกตการปฏิบัติงาน และร่วมปฏิบัติงานในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในสถานพยาบาล และในชุมชน  แล้วแลกเปลี่ยนอภิปรายปัญหากับวิทยากร

3.       การบรรยายในบางเรื่องที่จำเป็น

2.2 การปฏิบัติงานในสถานพยาบาลคลินิกเฉพาะทางสาขาต่าง ๆ

วัตถุประสงค์   เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

               ได้ความรู้และฝึกทักษะการดูแลสุขภาพทางด้านคลินิกในสาขาวิชาเฉพาะทางต่าง ๆ  ตามที่กำหนดในหลักสูตร

       เนื้อหา  ตามเนื้อหาหลักของหลักสูตร

       วิธีการ   การฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานพยาบาล ร่วมกับการอภิปราย  การติดตามผล

 

 

 

 

34

 

2.3 การปฏิบัติงานในสถานพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว

วัตถุประสงค์         เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

1.       มีความรู้  ความเข้าใจต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการ  กับผู้รับบริการ

2.     ฝึกทักษะการให้บริการเพื่อดูแลสุขภาพแก่ประชาชนที่ผสมผสานทั้งด้านร่างกาย  ด้านจิตใจ และด้านสังคม  การดูแลที่ผสมผสานด้านการรักษาพยาบาล  การส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  และการฟื้นฟูสภาพ

3.       ฝึกการสื่อสาร การให้คำปรึกษาที่เหมาะสม

4.     เข้าใจระบบการเชื่อมโยง  การส่งต่อ  และการประสานบริการต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนที่รับผิดชอบทั้งบริการที่เป็นบริการสุขภาพโดยตรงและบริการอื่น ๆ

เนื้อหา                     ตามเนื้อหาหลักของหลักสูตร

วิธีการ                           การฝึกปฏิบัติจริง ร่วมกับการอภิปรายติดตามผล

 

3.    กิจกรรมศึกษาครึ่งวันต่อสัปดาห์  ( Half Day Study Family Practice )

วัตถุประสงค์

1.       เพื่อเสริมสร้างแนวคิดในการให้บริการเวชปฏิบัติครอบครัว

2.       สามารถนำมโนทัศน์  ปรัชญาของเวชปฏิบัติครอบครัว

3.       เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ

เนื้อหา 

ตามรายละเอียดเพิ่มเติมของเนื้อหาหลักสูตร  โดยเน้นประเด็นการเชื่อมโยง  และแนวปฏิบัติจริง

 

วิธีการ

                จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในช่วงครึ่งวันต่อสัปดาห์  ตลอดหลักสูตร 3 ปี   โดยที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  ในลักษณะที่เป็น  Problem based  และจัดระบบให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้  อาจจัดในลักษณะการให้บริการจริงภายใต้การดูแลของอาจารย์ / พี่เลี้ยงและมีการอภิปราย วิจารณ์หลังการให้บริการ  หรือการดำเนินการให้ห้องเรียนในลักษณะที่เป็น  Small group  discussion, case conference,  journal club  หรือการบรรยาย  การอภิปรายโดยบุคลากรหลายวิชาชีพ  ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหา และความเหมาะสมในการจัดการ

 

 

 

 

 

 

 

35


 

ตารางกิจกรรมวิชาการของแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวปี 1 (Half day study in Family Medicine)

กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก รพ.พระมงกุฏเกล้า ประจำปี 2544-2545     (อาจมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียด)

ทุกวันพุธ(10.00 –11.30.=OPD. FP.,หน่วยตรวจโรคในชุมชน,เยี่ยมครอบครัว), (*11.30.-13.30.= กิจกรรมวิชาการที่ สนง.แพทย์กองตรวจโรค.)

วันที่

กิจกรรม

เรื่อง

พุธ  4  ..44

Topic1:

Brief Summary in Family Medicine ‘s workshop คณะแพทย์ประจำบัานปี1

พุธ 11..44

Case disc:

พญ.สายรัตน์  พญ.ธัญญารัตน์ .ธิติพันธ์ อจ.กองกุมารเวชกรรม

พุธ 18..44

Topic2:

The principles of health promotion and disease prevention ( .. สุรจิต  สุนทรธรรม)

พุธ 25 ..44

Journal:

นพ.ชัยอนันต์  นพ.ไกรสร .สมชาย  อจ.กองศัลย์กรรม

พุธ  1..44

Topic3:

 Care of older adults ( .เฉลิมชาติ วรรณพฤกษ์, .ณัฐพงษ์ สนธยานนท์ )

อังคาร  7 ส..44

Case disc

พญ.อมรรัตน์  พญ.แสงศุลี  .เอกลักษณ์   อจ.กองอายุรกรรม

อังคาร 14 ส..44

Topic4:

 Adolescent Health 1 (.วิโรจน์)

พุธ 22..44

Journal:

 พญ.แสงศุลี  พญ.อมรรัตน์  .เอกลักษณ์ อจ.กองอายุรกรรม

พุธ 29..44

Topic5:

End of Life care and Medical Ethics (.กสานต์ สีตลารมย์, . ณัฐพงษ์ สนธยานนท์):

พุธ  5 ..44

Case disc:

พญ.ธัญญารัตน์ พญ.สายรัตน์   .ธิติพันธ์  อจ.กองศัลย์กรรม

พุธ 12..44

 Topic6:

Common cardiovascular diseases in Family Practice.(.โสภณ สงวนพงษ์)     

พุธ 19 ..44

Case disc:

นพ.ไกรสร นพ.ชัยอนันต์  .สมชาย  อจ.กองศัลย์ (Thalas.with hyperspleenism

อัง.  2 ต.ค.44

Topic 7:

Maternity and Gynecological care in Family Practice1: Antenatal Care (พ.อ.หญิง จุฑาวดี วุฒิวงศ์)

พุธ  3 ..44

Journal:

พญ.สายรัตน์  พญ.ธัญญารัตน์ .เอกลักษณ์  อจ.กองศัลย์กรรม

พุธ 10..44

Topic 8:

Women’s Health1 : วัยทอง (Care of Menopaused Women in  FP.) (พ.ท.กิตติศักดิ์ วิลาวรรณ)

พุธ 17 ..44

Journal:

นพ.ชัยอนันต์  นพ.ไกรสร .สมชาย  อจ.กองกุมารเวชกรรม

พุธ 24..44

Topic9:

Maternity and Gyn. care in Fam.Pract.2 : Practical Points in Family planning (พ.อ.สายัณห์ สวัสดิ์ศรี)

พุธ  31 ตค.44

Case disc:

พญ.อมรรัตน์  พญ.แสงศุลี  .ธิติพันธ์ อจ.กองสูตินรี (พ.อ.หญิง เยาวนา ธนะพัฒน์) choronic pelvic pain

พุธ 7..44

Topic10:

Women’s Health 2: Menstrual Disorder and other common Gyn. Conditions. (พ.อ.ชนินทร์ อัศวธเรศ)

พุธ 14..44

Case disc:

พญ.แสงศุลี  พญ.อมรรัตน์  .เอกลักษณ์  อจ.กองสูตินรีเวชกรรม (พ.อ.บัณฑิต จันทะยานี)

พุธ 21..44

Topic11:

Maternity and Gyn. care in Family Practice3: Screening test in Gyn. Malignancy (พ.อ.กนธีร์ สังขวาสี)

พุธ 28..44

Case disc:

นพ.ไกรสร นพ.ชัยอนันต์  .สมชาย  อจ.กองกุมารเวชกรรม

อัง  4..44

Topic12:

Urgent and Emergency Care1(traumatic)  .พงษ์ศักดิ์พ .

พุธ 12..44

Journal:

พญ.ธัญญารัตน์ พญ.สายรัตน์ .ธิติพันธ์  อจ.กองอายุรกรรม

พุธ 19..44

Topic13:

Urgent and Emergency Care2(non-traumatic)  .ธานี

พุธ  26 ธค.44

Case disc:

พญ.อมรรัตน์  พญ.แสงศุลี  .เอกลักษณ์  อจ.กองศัลย์กรรม

พุธ  2..45

Topic14:

Care of surgical patient  .ธำรงโรจน์

พุธ  9..45

Journal

นพ.ชัยอนันต์  นพ.ไกรสร .สมชาย  อจ.กองออร์โธปิดิกส์(พ.อ.กนธีร์ สังขวาสี)***

พุธ 16..45

Topic15:

Common Endocrine Diseases in Family Practice

พุธ  23 มค.45

Case disc:

พญ.สายรัตน์  พญ.ธัญญารัตน์ .ธิติพันธ์   อจ.กองอายุรกรรม

พุธ 30..45

 

fam.med.+workshop3  (28..45 - พุธ  8..45 )

พุธ  6..45

 

fam.med.+workshop3    (28..45 - พุธ  8..45 )

พุธ 13..45

Topic16:

Common GI problem in Family Practice(.ดุสิต จันทยา นนท์)

พุธ 20..45

Journal:

พญ.แสงศุลี  พญ.อมรรัตน์  .เอกลักษณ์ อจ.กองศัลย์กรรม

พุธ 27..45

Topic17:

.          

พุธ  6  มีค.45

Topic18:

Common Musculoskeletal Problems in Orthopedic

พุธ 13 มีค.45

 Case disc:

นพ.ไกรสร นพ.ชัยอนันต์  .สมชาย  อจ.กองอายุรกรรม

พุธ 20 มีค.45

Journal:

พญ.ธัญญารัตน์ พญ.สายรัตน์ .ธิติพันธ์  อจ.กองสูตินรีเวชกรรม (พ.อ.หญิง เยาวนา ธนะพัฒน์)

พุธ 27 มี..45

Topic19:

Sport and Recreational Medicine(.. นพ. ประวิทย์ จำรูญธเนศกุล)

พุธ  3 เมย.45

Journal:

พญ.อมรรัตน์  พญ.แสงศุลี  .เอกลักษณ์  อจ.กองกุมารเวชกรรม

พุธ 10 เมย.45

Topic20:

Care of Infant and Children (.ภาวดี)

พุธ 17 เมย.45

 Journal:

นพ.ชัยอนันต์  นพ.ไกรสร .สมชาย  อจ.กองอายุรกรรม

พุธ 24 เมย.45

Topic21:

Medical Genetics (.มหัธนา)

พุธ  1..45

Case disc:

พญ.สายรัตน์  พญ.ธัญญารัตน์ .ธิติพันธ์    อจ.กองออร์โธปิดิกส์

พุธ  8..45

Topic22:

Nutrition (.เรืองวิทย์)

พุธ 15..45

Case disc:

พญ.แสงศุลี  พญ.อมรรัตน์  .เอกลักษณ์  อจ.กองกุมารเวชกรรม

พุธ 22..45

 Topic23:

Allergy and Immunology (.อารียา)

พุธ 29..45

Topic24:

Adolescent Health 2 (.วิโรจน์)

 

36


 
รายชื่ออนุกรรมการอาจารย์ผู้ดูแลแพทย์ประจำบ้าน กองต่างๆ

และหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการติดต่อ

 

 

รายนามอนุกรรมการ

หน้าที่/ผุ้แทนกอง

โทรภายใน

โทรภายนอก

 

 

 

 

..ถนอม สุภาพร               

ประธานอนุกรรมการ

93308  ,93310     

01-8343021  ,  1500-826009

..วิชัย ประยูรวิวัฒน์          

กองอายุรกรรม

93305  ,93306

01-9232227

พ.ต.สมชาย พัฒนอางกูร       

กองอายุรกรรม

93336

1144-982244

พ.ท.สุทธจิต ลีนานนท์

กองศัลยกรรม

93136

01-6339896 , 1500-217187

พ.ท.ธวัชชัย กาญจนรินทร

(ดูR1ศัลยฯอุบัติเหตุ

93403

01-8138496

พ.อ.หญิง สยมพร โกมลภิส    

กองสูติ-นรีเวชกรรม

94025

162-050019

พ.อ.หญิง ขวัญใจ ธนกิจจารุ   

กองกุมารฯ

94146

01-4842584 , 1500-632681

พ.อ.อนันต์ ทรรศนะวิภาส       

กองออร์โธปิดิกส์

93456

01-3504477

พ.อ.วิลาส ศรีโพธิ์ทองนาค      

กองจักษุวิทยา

93273

2483322

พ.อ.กรีฑา ม่วงทอง                 

กองโสต ศอ นาสิก

93181  ,93076

1188-6429600

พ.ต.หญิง สุมาลี ซื่อธนาพรกุล  

กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู

93639

01-8116186

พ.ต.หญิง อัญชลา บัวทรัพย์     

กองรังสีกรรม    

93045

01-2568133 , 1500-810272

พ.ท. สุรศักดิ์ ถนัดศีลธรรม        

กองวิสัญญี

94023

01-9067906

พ.ท.พันธุดิส ทอองอุปการ         

กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก

93100

01-9207856

พ.ท.นวพร หิรัญวิวัฒน์กุล

กองจิตเวช

93189

8851918 กด 1

พ.ท.กวีพจน์ โพธิ์วิเชียร

กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก

93100

01-6398897

 

หมายเหตุ: สำนักวิชาการ รพ.รร.6 พ.ต.หญิง ประไพพรรณ ไตรโยธี โทร. 93090

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

37